เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis)

เอ็นร้อยหวาย: เส้นเอ็นใหญ่ที่สุดที่ช่วยในการเดิน วิ่ง และกระโดด

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เอ็นร้อยหวายอักเสบ 

เอ็นร้อยหวาย ซึ่งยึดกระดูกสันเท้าเข้ากับกล้ามเนื้อน่อง เป็นเส้นเอ็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย สำคัญต่อการเดิน วิ่ง หรือกระโดด โดยอาการปวดที่เอ็นร้อยหวายนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก 

  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ จากการใช้งานมากเกินไป (Overuse) 
  • เอ็นร้อยหวายเสื่อม เส้นเอ็นเสื่อมเนื่องจากเอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง รักษาไม่หาย 
  • เอ็นร้อยหวายฉีกขาด ทำให้เกิดอาการปวด 

อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบนั้น อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังจนทำให้ผู้ป่วยเดินเหินได้ลำบากหรือทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ 

เอ็นร้อยหวายอักเสบประเภทต่าง ๆ 

  • เอ็นร้อยหวายอักเสบที่เส้นเอ็น เกิดจากการที่เส้นใยตรงกลางเส้นเอ็นอักเสบ บวม และหนาขึ้น มักพบในผู้ที่อายุยังน้อยและออกกำลังกายหนัก โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการกระโดด กระแทก
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบที่จุดเกาะเส้นเอ็น มักเกิดบริเวณที่เส้นเอ็นเชื่อมกับกระดูกส้นเท้า เกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือผู้ที่ทำกิจกรรมที่ลงน้ำหนักที่สันเท้าบ่อย เช่น นักวิ่งระยะไกล 

เอ็นร้อยหวายอักเสบ มีอาการอย่างไร

  • ปวดข้อเท้าและส้นเท้า 
  • เอ็นในข้อเท้าแข็ง กดเจ็บ บวม 
  • ขาอ่อนแรง 
  • รู้สึกเจ็บบริเวณข้อเท้าหลังออกกำลังกาย หรือระหว่างที่ขึ้นบันได หรือเดินขึ้นเนิน ในกรณีที่มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นทางด้านหลัง 
  •  มักรู้สึกปวดในตอนเช้า ดีขึ้นระหว่างวัน และปวดอีกครั้งตอนเย็นจากการใช้งานสะสม 

เอ็นร้อยหวายอักเสบ มีสาเหตุเกิดจากอะไร

เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากการที่เอ็นร้อยหวายถูกใช้งานหนักจนเกินไป เช่น ทำกิจกรรมที่ลงน้ำหนักที่เท้ามาก ๆ เดินหรือวิ่งเป็นเวลานานจนร่างกายไม่มีเวลาพักและซ่อมแซมเส้นเอ็น ทำให้เอ็นร้อยหวายบวม ระคายเคือง และอักเสบ 

ควรพบแพทย์เมื่อไร

ควรพบแพทย์เมื่ออาการปวดที่เอ็นร้อยหวายไม่ดีขึ้นหรือไม่หาย หากปวดรุนแรงจนเดินไม่ได้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะเอ็นร้อยหวายอาจฉีกขาด 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบ

  • เพศ: เอ็นร้อยหวายอักเสบมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 
  • อายุ: ยิ่งอายุมากความเสี่ยงที่เอ็นร้อยหวายจะอักเสบยิ่งสูงขึ้น 
  • ปัจจัยทางด้านร่างกาย: เช่น เท้าแบนอาจทำให้เอ็นร้อยหวายต้องรับแรงกดมากขึ้น น้ำหนักตัวที่มากจนเกินไปหรือกล้ามเนื้อน่องตึงก็มีส่วนทำให้เอ็นร้อยหวายตึง 
  • วิธีการออกกำลังกาย: การวิ่งขึ้นเนินหรือวิ่งโดยใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ การออกกำลังกายในที่ที่อาการเย็นก็มีส่วนทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบได้มากกว่าที่อากาศอบอุ่น 
  • ปัญหาสุขภาพ: ผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบ 
  • ยาบางชนิด: ฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง มีส่วนทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ 

การตรวจวินิจฉัย 

  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจบริเวณข้อเท้าเพื่อหาจุดที่ปวด บวม กดเจ็บและประเมินความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหว และแนวของเท้าและข้อเท้า
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย
    • การเอกซ์เรย์ ช่วยตัดความเป็นไปได้ของโรคอื่น ๆ ที่มีอาการเหมือนกับเอ็นร้อยหวายอักเสบ
    • การอัลตราซาวนด์ จะแสดงภาพแบบเรียลไทม์ของเอ็นร้อยหวายขณะที่ขยับไปมา และดูกระดูกงอกได้
    • MRI จะแสดงภาพความละเอียดสูงของเอ็นร้อยหวาย สามารถดูระดับความเสื่อมหรือการฉีกขาดของเส้นเอ็นได้ 

เอ็นร้อยหวายอักเสบ มีวิธีการรักษาอย่างไร

อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบอาจดีขึ้นหรือหายด้วยการดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน หากอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • ยา แพทย์อาจให้รับประทานยา เช่น ยาลดอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ 
  • กายภาพบำบัด สามารถช่วยรักษาอาการโดยการยืดเหยียดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบเอกเซนตริก (eccentric exercise) และการใช้กายอุปกรณ์ เช่น แผ่นเสริมด้านในรองเท้า 
  • การผ่าตัด เป็นทางเลือกในการรักษาในกรณีที่การรักษาข้างต้นไม่ช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 6 เดือน 
  • การผ่าตัดยืดเอ็นกล้ามเนื้อน่อง โดยแพทย์จะทำการส่องกล้องยืดกล้ามเนื้อน่องเพื่อบรรเทาอาการเอ็นร้อยหวายตึง 
  • การกำจัดพังผืดและซ่อมแซมเส้นเอ็น ในกรณีที่เส้นเอ็นส่วนใหญ่ยังสมบูรณ์อยู่ แพทย์จะผ่าตัดนำส่วนที่เป็นพังผืดออกเท่านั้น และเย็บเส้นเอ็นที่แข็งแรงดีเข้าไว้ด้วยกัน หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องสวมเฝือกหรือรองเท้าบูทเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ 
  • การกำจัดพังผืดและปลูกย้ายเส้นเอ็น ในกรณีที่เส้นเอ็นมากกว่าครึ่งหนึ่งได้รับความเสียหาย แพทย์จำเป็นต้องทำการผ่าตัดปลูกย้ายเส้นเอ็น โดยจะนำเส้นเอ็นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้ามาปลูกย้ายที่บริเวณส้นเท้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเดินและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ 

วิธีการป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ

  • สวมใส่รองเท้าสำหรับการออกกำลังกายที่มีแผ่นรองช่วยรองรับแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า รองเท้าควรโค้งรับและพยุงอุ้งเท้า ควรเปลี่ยนแผ่นรองด้านในรองเท้าหากแผ่นรองด้านในเสื่อมสภาพ 
  • รู้ข้อจำกัดของร่างกาย หลีกเสี่ยงกิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนักตัวลงที่สันเท้ามาก เช่น การวิ่งขึ้นเนิน ก่อนที่จะออกกำลังกายหนักหรือเข้มข้น ควรอบอุ่นร่างกายและควรหยุดพักหากรู้สึกเจ็บขณะออกกำลังกาย 
  • เมื่อเริ่มต้นออกกำลังกาย ไม่ควรหักโหม ค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นและระยะเวลาออกกำลังกายทีละนิด 
  • ควรออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่อง หากชอบออกกำลังกายควรออกแบบผสมผสาน ออกกำลังกายแบบแรงกระแทกสูง เช่น การวิ่ง กระโดด สลับกับการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ เช่น การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน 
  • หมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและป้องกันไม่ให้เอ็นรอยหวายอักเสบ 

เมื่อเอ็นร้อยหวายอักเสบควรดูแลตัวเองที่บ้านอย่างไร

เมื่อเอ็นร้อยหวายอักเสบฉับพลัน ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ “R.I.C.E.” ดังต่อไปนี้ 

  • Rest: พักผ่อนให้เพียงพอ งดออกกำลังกายก่อนสัก 2-3 วัน หรือออกกำลังกายที่แรงกระแทกต่ำ เช่น ว่ายน้ำ แทน 
  • Ice: ประคบน้ำแข็งหรือประคบเย็นบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 15 นาทีหลังออกกำลังกายหรือเมื่อรู้สึกปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดบวม 
  • Compression: ใช้ผ้าพันบริเวณที่ปวดเพื่อลดอาการบวมและจำกัดการเคลื่อนไหว 
  • Elevation: ยกเท้าข้างที่เจ็บให้สูงกว่าระดับอกเวลานอนหรือพักผ่อนเพื่อลดอาการบวม 

การเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์ 

  • ก่อนไปพบแพทย์ ผู้ป่วยสามารถเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์อาจถาม ดังต่อไปนี้ 
  • ปวดตรงบริเวณใดบ้าง 
  • อาการปวดที่ข้อเท้านั้นเกิดขึ้นฉับพลันหรือค่อย ๆ ปวด 
  • เมื่อหยุดพัก อาการปวดลดลงหรือไม่ 
  • อาการปวดแย่ลงในช่วงเวลาใดหรือหลังทำกิจกรรมใด 
  • ได้ลองรักษาอาการเองบ้างหรือไม่ 
  • ช่วยอธิบายการออกกำลังกายในแต่ละวันได้หรือไม่ 
  • เวลาออกกำลังกายสวมใส่รองเท้าอะไร 
  • กำลังรับประทานยาหรืออาหารเสริมใด ๆ อยู่หรือไม่

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 19 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สุขุม งามกิติเดชากุล

    นพ. สุขุม งามกิติเดชากุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ชิตวีร์ เจียมตน

    นพ. ชิตวีร์ เจียมตน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ณัฐเดช เมฆรุ่งจรัส

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สุธี ทวีพันธุ์สานต์

    นพ. สุธี ทวีพันธุ์สานต์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Hand and Microsurgery
  • Link to doctor
    พญ. กิตติวรรณ สุพิชญางกูร

    พญ. กิตติวรรณ สุพิชญางกูร

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    Hand and Microsurgery, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ภัทร จุลศิริ

    นพ. ภัทร จุลศิริ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดเท้าและข้อเท้า
    ผ่าตัดแผลเล็กเท้าและข้อเท้า, ผ่าตัดส่องกล้องเท้าและข้อเท้า, Limb Length Discrepancy Correction
  • Link to doctor
    นพ. อัครเดช พิทักษ์วีระกุล

    นพ. อัครเดช พิทักษ์วีระกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดเท้าและข้อเท้า
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. พิสิฏฐ์ บุญมา

    นพ. พิสิฏฐ์ บุญมา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดเท้าและข้อเท้า
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ผ่าตัดส่องกล้องเท้าและข้อเท้า
  • Link to doctor
    นพ. กฤษฎิ์ พฤกษะวัน

    นพ. กฤษฎิ์ พฤกษะวัน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดเท้าและข้อเท้า
    ผ่าตัดแผลเล็กเท้าและข้อเท้า, ผ่าตัดส่องกล้องเท้าและข้อเท้า, แก้ไขภาวะผิดรูปของกระดูกเท้าและข้อเท้า
  • Link to doctor
    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ขรรค์ชัย   มลังไพศรพณ์

    นพ. ขรรค์ชัย มลังไพศรพณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Hand and Microsurgery