กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก (Bell’s palsy) อาการ สาเหตุ การตรวจรักษา

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก (โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก)

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก หรือ โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือภาวะที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า 1 ข้าง ทำให้ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยวและหลับตาได้ไม่สนิท

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก (โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก)

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก หรือ โรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือภาวะที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า 1 ข้าง ทำให้ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มีอาการปากเบี้ยวและหลับตาได้ไม่สนิท เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทที่ไปควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า สาเหตุของโรคนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยผู้ป่วยเบาหวานและหญิงตั้งครรภ์พบมีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สูงขึ้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการดีขึ้นและหายสนิท แต่ผู้ป่วยบางรายยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่ไปตลอดชีวิต

อาการของโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก

อาการอ่อนแรงของใบหน้า 1 ข้างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน อาการดังกล่าวได้แก่

  • คิ้วตก
  • มุมปากตก ปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกมุมปาก
  • หลับตาข้างหนึ่งได้ไม่สนิท
  • อาการอื่น ๆ ที่พบร่วมกัน ได้แก่ ไวต่อเสียง สูญเสียการรับรส ปวดบริเวณกกหู


ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการตามแบบข้างต้น เนื่องจากแพทย์จะทำตรวจประเมินเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกหรือไม่ หรือเป็นโรคอื่น ๆ มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น อีกทั้งการรักษาจะได้ผลดีเมื่อเริ่มภายใน 3 วันแรก

การรักษากล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก หรือโรคอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก สามารถดีขึ้นและหายได้เอง แต่การรักษาจะช่วยให้หายเร็วขึ้นได้ การรักษาประกอบด้วยการรับประทานยาและการดูแลดวงตา

  • ยา เป็นยาลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ ในบางรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสร่วมด้วย
  • การดูแลดวงตา จำเป็นอย่างยิ่งหากผู้ป่วยหลับตาไม่สนิท แพทย์อาจแนะนำให้สวมแว่นในเวลากลางวันและแปะแผ่นปิดตาในเวลากลางคืน พร้อมทั้งใช้น้ำตาเทียมหรือขี้ผึ้งเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื่น


ผลของการรักษา

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการดีขึ้นภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ แต่อาจใช้เวลานานถึง 6 เดือนในการกลับมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาการจะไม่หายสนิทและยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่แบบถาวร





บทความโดย
ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา
ประวัติแพทย์

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 22 พ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย

    นพ. ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ อัครธนวัฒน์

    นพ. วสันต์ อัครธนวัฒน์

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา
    โรคระบบประสาท, Interventional Neuroradiology, โรคหลอดเลือดสมอง
  • Link to doctor
    พญ. จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

    พญ. จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา