ตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ ความสำคัญและขั้นตอนการตรวจ Carotid Doppler Ultrasound

ตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Doppler Ultrasound)

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ หรือ Doppler Ultrasound เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือด เป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ช่วยให้ทราบถึงความเร็ว

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ หรือ Carotid Doppler Ultrasound คืออะไร?

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ หรือ Doppler Ultrasound เป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือด เป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ช่วยให้ทราบถึงความเร็วและทิศทางของเลือดที่ไหลเวียนในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ

ความถี่ของคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาเมื่อกระทบกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เคลื่อนไหวอยู่จะแตกต่างออกไปเล็กน้อย เมื่อเทียบกับความถี่ที่ถูกส่งออกไปในครั้งแรก โดยการเปลี่ยนแปลงของความถี่ของคลื่นนี้ เรียกกันว่า Doppler effect ซึ่งช่วยคำนวณความเร็วและทิศทางการไหลเวียนของเลือดได้ Color Doppler ultrasound เป็นการแสดงผลการตรวจด้วยสี เพื่อระบุทิศทางการไหลเวียนของเลือด โดยสีแดงมักจะหมายถึงเลือดที่ไหลเข้าหาหัวตรวจอัลตราซาวนด์ และสีน้ำเงินหมายถึงเลือดไหลออกจากหัวตรวจ

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ หรือ Carotid Doppler Ultrasound เป็นการตรวจหาตะกรันในผนังหลอดเลือด หลอดเลือดที่มีสภาพตีบหรืออุดตัน เป็นวิธีการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่รุกล้ำ และรวดเร็ว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร และมีประสิทธิภาพในการประเมินการไหลเวียนของเลือดและภาวะผนังหลอดเลือดหนาตัวในหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ ซึ่งส่งเลือดจากหัวใจไปยังสมอง

วิธีตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ - Carotid Doppler Ultrasound

ใครควรรับการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ?

  • ผู้ที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว หรือโรคหลอดเลือดสมองชนิดอื่น ๆ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • ผู้ป่วยที่มีเสียงฟู่ที่คอจากการฟังด้วย สเต็ทโตสโคป
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง

นอกจากนี้ การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอยังช่วยในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • หาจุดที่ลิ่มเลือดอุดตัน
  • ประเมินผลการผ่าตัดหลอดเลือดคอที่ตีบ
  • ตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดโป่งพอง และโรคตามืดชั่วขณะ
  • ตรวจการไหลเวียนของเลือดระหว่างการขยายหลอดเลือดแดงคาโรติดด้วยบอลลูนและขดลวด

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอไม่มีความเสี่ยงใด ผู้เข้ารับการตรวจบางรายอาจมีอาการแพ้เจลที่ใช้ในการตรวจ กรณีที่หลอดเลือดที่คอได้รับความเสียหายหรือส่วนของคราบตระกรันในผนังหลุดออกอาจเกิดขึ้นได้แต่พบได้น้อยมาก

Carotid Doppler Ultrasound Banner 2

ขั้นตอนการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอมีอะไรบ้าง?

ก่อนตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

หากผู้ป่วยกำลังรับประทานยาใด ๆ อยู่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับหัตถการ ในวันที่เข้ารับการตรวจ ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับมีค่า เช่น สร้อยคอหรือตุ้มหู ซึ่งอาจรบกวนการตรวจ สวมเสื้อติดกระดุมหรือเสื้อคอกว้างเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจบริเวณคอได้ง่าย

ระหว่างตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

แพทย์จะทาเจลแล้วจึงใช้หัวตรวจไถเบา ๆ บริเวณคอเพื่อถ่ายภาพหลอดเลือดแดงที่คอและตรวจดูว่ามีการตีบหรืออุดตันหรือความผิดปกติอื่นใดหรือไม่

หลังหัตถการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ

แพทย์จะอธิบายผลตรวจและพูดคุยเพื่อทำการวางแผนการรักษากับผู้ป่วย หากพบว่ามีการสะสมของหินปูนในหลอดเลือด แพทย์อาจให้รับประทานยาแอสไพรินในปริมาณต่ำ (baby aspirin) หรือให้ยาลดคอเลสเตอรอล โดยยาจะไปยับยั้งการสะสมของหินปูนและทำให้หินปูนคงตัว ลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง

หากพบความผิดปกติที่มีนัยสำคัญ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดง (CTA) หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRA ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดและสมอง เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียดยิ่งขึ้น

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอเป็นวิธีที่ช่วยให้ตรวจพบหลอดเลือดแดงที่คอที่ตีบหรืออุดตัน เป็นหัตถการที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ใช้เวลาไม่นาน หากพบว่าหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต แม้ว่าการทำการรักษาทางการแพทย์จะเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่การสร้างสุขนิสัยที่ดีนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจได้ดี

บทความโดย

  • น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.
    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น. อายุรแพทย์ประสาทวิทยา ผู้ชำนาญการด้านโรคหลอดเลือดสมอง และรังสีร่วมรักษาระบบประสาท

เผยแพร่เมื่อ: 29 ม.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

    ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

    • ประสาทวิทยา
    ภาวะสมองเสื่อม, โรคปวดศีรษะ, ไมเกรน, โรคหลอดเลือดสมอง, อาการสั่น, โรคพาร์กินสัน, อาการเวียนศีรษะ, บ้านหมุน
  • Link to doctor
    นพ. ปกฤษณ์ จิตตภิรมย์ศักดิ์

    นพ. ปกฤษณ์ จิตตภิรมย์ศักดิ์

    • ศัลยกรรมประสาท
    เทคโนโลยีเพื่อผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบ, เทคนิคร่วมรักษาโรคหลอดเลือดสมอง, หลอดเลือดสมองผิดปกติ
  • Link to doctor
    นพ. ปโยธร เดชะรินทร์

    นพ. ปโยธร เดชะรินทร์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
  • Link to doctor
    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.

    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.

    • ประสาทวิทยา
    • โรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต)
    • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
    โรคทางสมองและระบบประสาท, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคความผิดปกติของหลอดเลือดสมองและคอ, โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง , ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง คอและไขสันหลังจากโรคหรืออุบัติเหตุ
  • Link to doctor
    พญ. เพชรพลอย ภูวคีรีวิวัฒน์

    พญ. เพชรพลอย ภูวคีรีวิวัฒน์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    ฝังเข็ม, โรคหลอดเลือดสมอง, ฉีดยาและฝังเข็มลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • Link to doctor
    นพ. พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์

    นพ. พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์

    • ศัลยกรรมประสาท
    เทคนิคร่วมรักษาโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดสมอง