ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ - CT calcium score

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score)

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score) คือ การตรวจวัดปริมาณแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกเรย์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score)

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score) คือ การตรวจวัดปริมาณแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกเรย์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (CT scan) คำนวณปริมาณแคลเซียมที่เกาะผนังหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โดยหากผลการตรวจระบุคราบหินปูนสะสมในปริมาณสูง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือดสูงตามไปด้วย เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและการเสียชีวิต การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจเป็นการตรวจคัดกรองโรคที่มีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยโดยไม่ต้องผ่าตัด ถือเป็นหนึ่งในเวชศาสตร์ป้องกันที่ช่วยชีวิตผู้คนให้รอดพ้นจากโรคร้ายที่อาจกำลังเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมจึงควรตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ?

แคลเซียม หรือคราบหินปูนสะสม (Calcified plaque) เกาะผนังหลอดเลือดหัวใจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ และหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้เลือดไหลผ่านผนังหลอดเลือดในจุดที่มีการสะสมก่อตัวของคราบหินปูนได้ยากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่นำไปสู่อาการหัวใจวายและเสียชีวิตในที่สุด การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT calcium score) นำไปสู่การวางแผนการรักษาและการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและช่วยให้มีอายุขัยยาวนานขึ้น

แคลเซียม คราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจเกิดจากอะไร - Ct Scan Calcium Score

แคลเซียม คราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจเกิดจากอะไร?

  • ความเสื่อมสภาพของแคลเซียมในร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการสะสมของคราบหินปูน
  • กลไกตามธรรมชาติของร่างกายในการสร้างแคลเซียมขึ้นมาเพื่อป้องกันการอักเสบของหลอดเลือด
  • ไขมัน และโคเลสเตอรอลสะสมในหลอดเลือดในปริมาณสูง ร่วมกับคราบหินปูน
  • การขาดวิตามินดี และวิตามินเค 2 ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ และทำให้มีแคลเซียมตกค้างสะสมในหลอดเลือดหัวใจ
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงที่ทำให้เกิดการสะสมของคราบหินปูนในหลอดเลือด โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน
  • การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ทำให้ระดับแคลเซียมในหลอดเลือดสูงขึ้น

ใครที่ควรตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ?

  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจในระดับปานกลาง 
  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ทั้งชายและหญิงแม้ไม่มีอาการ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต
  • ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI มากกว่า 25.0 กก./ตร.ม เป็นโรคอ้วน หรือเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่ทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน

ผลการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ - Ct Scan Calcium Score

ผลการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ แบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ?

การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography (CT) ที่มีความคมชัดและมีความเร็วสูงในการจับภาพหัวใจขณะกำลังเต้นเพื่อตรวจวัดระดับแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ และทำการประมวลผลหาค่าแคลเซียม สกอร์ (Coronary calcium score) ผลคะแนนที่ได้จะมีความสัมพันธ์กับโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดังนี้

  • ผลการตรวจ Calcium Score ได้ค่า 0 = ไม่มีคราบหินปูนสะสมในหลอดเลือดหัวใจ ไม่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผลการตรวจ Calcium Score ระหว่าง 1-100 = มีคราบหินปูนสะสมในหลอดเลือดหัวใจน้อย มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ
  • ผลการตรวจ Calcium Score ระหว่าง 101-400 = มีคราบหินปูนสะสมในหลอดเลือดหัวใจปานกลาง มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจปานกลาง
  • ผลการตรวจ Calcium Score ตั้งแต่ 401 ขึ้นไป = มีคราบหินปูนสะสมในหลอดเลือดหัวใจสูง มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันสูงมาก อาจมีอาการของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดภายในเวลา 2-5 ปี

การเตรียมตัวก่อนการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ

  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ ยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือหากกำลังตั้งครรภ์
  • งดยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ หรือทำให้ชีพจรเต้นเร็ว
  • งดเครื่องดื่มที่กระตุ้นการทำงานของหัวใจ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
  • งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ถอดเครื่องประดับทุกชนิดก่อนเข้ารับการตรวจ
  • สามารถรอรับผลการตรวจโดยแพทย์ผู้ทำการตรวจได้ภายในวันเดียวกัน

ข้อดีของการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ

  • ให้ข้อมูลสุขภาพที่สำคัญ ช่วยให้แพทย์วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 
    โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  • ช่วยให้ทราบปริมาณหินปูนสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ เพื่อนำไปสู่การพยากรณ์และป้องกันโรคร้ายที่อาจกำลังเกิดขึ้น
  • ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล สามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำ และงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ
  • เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัย ไม่ทำให้เจ็บปวด
  • ไม่ต้องใส่สายสวนหัวใจ ไม่ต้องฉีดสารทึบแสง 
  • ไม่มีการนำเครื่องมือแพทย์ใด ๆ เข้าสู่ร่างกาย
  • มีความสะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาในการตรวจเพียง 10-15 นาที
  • ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ

ปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่มีผลการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจสูง - CT Scan Calcium Score

การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่มีผลการตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจสูง

หากผลการตรวจพบแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจสูง หรืออยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด แพทย์จะพิจารณาวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น การให้ยาเพื่อลดการสะสมของแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ร่วมกับการปรับพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

  • แพทย์ให้ยากลุ่มสแตติน (Statins) หรือกลุ่มยาอื่น ๆ เพื่อช่วยลดไขมันและควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
  • การจัดตารางการออกกำลังกายโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าค่าเฉลี่ย หรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที
  • การปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร โดยการหลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัวสูง
  • แพทย์จะทำการนัดตรวจเป็นระยะเพื่อติดตามอาการ
  • การตรวจสุขภาพอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise stress test: EST)
  • การเลิกบุหรี่
  • การทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด

Cardiac Mri Machine

การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์หัวใจ รพ. เมดพาร์ค นำโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจที่มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว พร้อมให้การติดตามประเมินผลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้รับการรักษามีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น และมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงไปอีกตราบเท่านาน

ตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ราคา 5,200 บาท*

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 19 เม.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด