ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) คือภาวะที่ปริมาณแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ มะเร็งบางชนิด ภาวะวิตามินดีสูงเกินไป โรคบางชนิด หรือยาบางอย่าง การรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงได้แก่การรับประทานยา

แชร์

เลือกหัวข้อทีต้องการอ่าน


ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) คือภาวะที่ปริมาณแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ มะเร็งบางชนิด ภาวะวิตามินดีสูงเกินไป โรคบางชนิด หรือยาบางอย่าง การรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงได้แก่การรับประทานยาหรือการผ่าตัด

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงคืออะไร?

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) เกิดจากการที่ปริมาณแคลเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นผิดปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการรับประทานยาและอาการป่วยจากโรคบางชนิด ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง เกิดนิ่วในไต และการทำงานของสมองและหัวใจผิดปกติ แคลเซียมถือเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย พบมากในกระดูก ช่วยในการทำงานของระบบประสาท หัวใจ และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยระดับแคลเซียมในร่างกายของคนเราจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมน 2 ชนิด ที่มีชื่อว่า พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน (parathyroid hormone) และแคลซิโทนิน (calcitonin) นอกจากนี้วิตามินดีก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายของเราสามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ดีขึ้น

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงพบได้บ่อยหรือไม่?

ประชากรโลกราว 1-2% ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในสตรีที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยประมาณ 90% ของผู้ป่วยจะมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจากภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิและภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจากมะเร็ง

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง มีอาการอย่างไรบ้าง?

ในช่วงแรก ๆ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงที่รุนแรงเรื้อรังอาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย หิวน้ำและปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ความอยากอาหารลดลง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนแรง ซึมเศร้า ขี้ลืม และหงุดหงิดง่าย

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เมื่อไรที่ควรพบแพทย์?

เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว ควรพูดคุยกับแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

Hypercalcemia - ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

สาเหตุของภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ได้แก่ การรับประทานยาบางชนิด โรคต่าง ๆ และภาวะขาดน้ำ แต่สาเหตุหลักได้แก่ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิและภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจากมะเร็ง

  • ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงแบบปฐมภูมิ
    ร่างกายของคนเราจะมีต่อมพาราไทรอยด์ 4 ต่อม อยู่ด้านหลังต่อมไทรอยด์ในลำคอ โดยต่อมพาราไทรอยด์จะทำงานร่วมกับกระดูก ไต และลำไส้ในการรักษาระดับแคลเซียมในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เมื่อต่อมพาราไทรอยด์หนึ่งต่อมหรือมากกว่านั้นทำงานมากผิดปกติ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์จะถูกผลิตและหลั่งออกมามากเกินไป ส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น

  • โรคมะเร็งที่ก่อให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงโรคมะเร็งราว 2% ส่งผลทำให้ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โดยภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจากมะเร็งมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรุนแรง โรคมะเร็งที่ส่งผลทำให้ภาวะแคลเซียมในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา (multiple myeloma) มะเร็งเซลล์เนื้อเยื่อไต (renal cell carcinoma) มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกล้ามเนื้อลาย 

  • ยาที่ส่งผลทำให้ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ส่งผลทำให้ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ได้แก่ การบริโภควิตามินเอ วิตามินดี และผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมมากเกินไป ยา lithium และกลุ่มยาขับปัสสาวะ เช่น ยา hydrochlorothiazide และยา thiazide สำหรับโรคความดันโลหิตสูงและภาวะบวมน้ำ

สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น ได้แก่ ภาวะไตวาย โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) วัณโรค ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ โรคกระดูก Paget's disease และการไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง มีภาวะแทรกซ้อนของอะไรบ้าง?

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงมักถูกตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงน้อยมาก แต่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ การที่มีแคลเซียมในเนื้อไต (nephrocalcinosis) ส่งผลต่อการทำงานของไต ไตวาย นิ่วในไต ความดันโลหิตสูง ถุงน้ำในกระดูก กระดูกหัก โรคกระดูกพรุน โรคซึมเศร้า

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

การตรวจสารเคมีในเลือด แบบ Basic Metabolic Panel (BMP) หรือ Comprehensive Metabolic Panel (CMP) ซึ่งรวมถึงการตรวจหาค่าแคลเซียมในเลือด
•    การตรวจเลือดวัดค่าฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (PTH)
•    การตัวเลือดวัดค่าวิตามินดี
•    การตรวจปัสสาวะวัดค่าแคลเซียม

หากผู้ป่วยมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเนื่องจากโรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดหาค่าแคลเซียม หากค่าแคลเซียมสูง แพทย์จะทำการตรวจประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกาย ซักถามถึงยาที่กำลังรับประทานอยู่ ในรายที่ไม่สามารถหาสาเหตุของภาวะแคลเซียมสูงได้ แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจเพิ่มเติมกับอายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อเพื่อหาสาเหตุต่อไป  

ค่าแคลเซียมในเลือดที่ผิดปกติ คืออะไร?

  1. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงชนิดไม่รุนแรง: แคลเซียมในเลือดจะอยู่ที่ระดับ 10.6 - 11.9 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)
  2. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงชนิดปานกลาง: แคลเซียมในเลือดจะอยู่ที่ระดับ 12.0 - 13.9 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)
  3. ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงชนิดรุนแรง: แคลเซียมในเลือดจะสูงกว่า 14.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)

วิธีการตรวจรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงมีอะไรบ้าง?

  • เฝ้าระวังภาวะแคลเซียมในเลือดสูงชนิดไม่รุนแรง แพทย์จะติดตามดูสุขภาพกระดูกและไตว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ 
  • การรับประทานยาสำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดสูงชนิดปานกลางหรือรุนแรง
    • ยา Calcimimetics ช่วยรักษาภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง  
    • ยา Bisphosphonates เป็นยาสำหรับโรคกระดูกพรุนผ่านทางหลอดเลือดดำ ซึ่งช่วยลดระดับแคลเซียมในเลือดได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับผู้ป่วยภาวะแคลเซียมสูงที่เกิดจากมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนจากยา ได้แก่ กระดูกต้นขาหักหรือโรคกระดูกพรุน 
    • ยา Denosumab มักใช้ในรายที่อาการไม่ตอบสนองต่อยา Bisphosphonates 
    • ยา Prednisone สามารถรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจากการที่ระดับวิตามินดีในร่างกายสูง 
    • สารน้ำทางหลอดเลือดดำและยาขับปัสสาวะ สำหรับผู้ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดสูงมากจนถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ยาจะช่วยลดระดับแคลเซียมอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจเต้นผิดปกติและระบบประสาทถูกทำลาย
  • การผ่าตัดนำต่อมพาราไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไปออก หรือการฉีดนิวไคลด์กัมมันตรังสีปริมาณต่ำเข้าไปยังต่อมพาราไทรอยด์ที่ทำงานผิดปกติ

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง มีวิธีป้องกันอย่างไร?

  • เข้ารับการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
  • ดูแลสุขภาพโดยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • ก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมหรือวิตามินดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ 

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบแพทย์?

  • จดอาการที่มี เหตุการณ์ในชีวิตครั้งสำคัญ ประวัติสุขภาพของตนเองและครอบครัว และนำยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังรับประทานอยู่ติดมาด้วย
  • จดคำถามที่ต้องการถามแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น 
    • สาเหตุของอาการคืออะไร
    • จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่
    • แพทย์แนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีใด มีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่
    • ควรจัดการกับโรคประจำตัวอย่างไร
  • เตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์อาจจะถาม
    • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
    • เคยมีประวัติกระดูกหัก กระดูกพรุน หรือเป็นนิ่วในไตหรือไม่ 
    • เคยปวดกระดูกหรือไม่
    • น้ำหนักตัวลดลงเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่
    • คนในครอบครัวเคยมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือไม่

ภาวะแคมเซียมในเลือดสูง - Hyper Calcemia Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 มี.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สญชัย จันทร์ศรีตระกูล

    นพ. สญชัย จันทร์ศรีตระกูล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    อายุรศาสตร์โรคไต, การดูแลป้องกันไตเสื่อม
  • Link to doctor
    นพ. กวิน ตังธนกานนท์

    นพ. กวิน ตังธนกานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    ไตวายเฉียบพลัน, โรคไตอักเสบ, การบําบัดทดแทนหน้าที่ไตโดยการฟอกเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลป้องกันไตเสื่อม, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, โรคและความผิดปกติทางไต, โรคไตจากเบาหวาน, การฟอกเลือดทางหน้าท้อง, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, ความผิดปกติของกระดูกจากโรคทางไต รวมทั้งกระดูกพรุน, โภชนบำบัดในโรคไต
  • Link to doctor
    นพ. ประวีณ รัตนศรีเมธา

    นพ. ประวีณ รัตนศรีเมธา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    • มะเร็งทางระบบไต
    อายุรศาสตร์โรคไต, มะเร็งทางระบบไต
  • Link to doctor
    พญ. ธิดารัตน์ กิจรุ่งไพบูลย์

    พญ. ธิดารัตน์ กิจรุ่งไพบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
  • Link to doctor
    นพ. สิร สุภาพ

    นพ. สิร สุภาพ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    การบำบัดทดแทนไต, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลและชะลอความเสื่อมของไต, การบำบัดทดแทนไต
  • Link to doctor
    พญ. เต็มดวง เชื้อหิรัญ

    พญ. เต็มดวง เชื้อหิรัญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    โรคความดันโลหิตสูง, การปลูกถ่ายไต, การบำบัดทดแทนไต
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. ณัฐวุฒิ โตวนำชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    อายุรศาสตร์โรคไต, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. นภิสวดี  ว่องชวณิชย์

    ผศ.พญ. นภิสวดี ว่องชวณิชย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    ไตวายเฉียบพลัน, การป้องกันและรักษาโรคไตด้วยโภชนบำบัด, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคไตอักเสบ, การบําบัดทดแทนหน้าที่ไตโดยการฟอกเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลป้องกันไตเสื่อม, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, โรคกระดูกต่าง ๆ ที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ รวมทั้งกระดูกพรุน
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. ขจร ตีรณธนากุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    อายุรศาสตร์โรคไต, อายุรกรรมทั่วไป