ภาวะที่ผู้ติดเชื้อโควิดยังมีอาการหลัง 3 เดือนนับจากวันตรวจพบการติดเชื้อไวรัส  โดยมีอาการต่อเนื่องนานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป

ภาวะลองโควิด (Long COVID)

ภาวะที่ผู้ติดเชื้อโควิดยังมีอาการหลัง 3 เดือนนับจากวันตรวจพบการติดเชื้อไวรัส  โดยมีอาการต่อเนื่องนานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป และไม่สามารถอธิบายอาการว่ามาจากโรคอื่นที่ตรวจวินิจฉัยได้

แชร์

ผลกระทบต่อเนื่องจากการระบาดของ โควิด-19

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาไปทั่วโลกนั้นย่างเข้าสู่ปีที่ 3 โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะแผ่วลง ผลจากการแพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้ภาวะลองโควิด (Long Covid) กลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่น่ากังวลใจไปทั่วโลก เพราะภาวะดังกล่าวอาจทำให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ส่วนหนึ่งอ่อนเปลี้ยจนทำงานไม่ได้ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ป่วยโควิดสูงวัยและวัยเด็ก ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับวัคซีน หลังการติดเชื้อทั้งที่ไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรง และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอุบัติการณ์สูงสุดในวัยกลางคน

องค์การอนามัยโลกนิยาม ภาวะลองโควิด ว่าเป็นภาวะที่ผู้ติดเชื้อโควิดยังมีอาการหลัง 3 เดือนนับจากวันตรวจพบการติดเชื้อไวรัส  โดยมีอาการต่อเนื่องนานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป และไม่สามารถอธิบายอาการว่ามาจากโรคอื่นที่ตรวจวินิจฉัยได้

การแสดงอาการของ ภาวะลองโควิด

ภาวะลองโควิด เป็นกลุ่มอาการที่สำแดงโรคในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไป รวบรวมได้มากกว่า 200 อาการซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของทางเดินหายใจ การทำงานของหัวใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงอาการทั่วร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ โรคทางอารมณ์ อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง สมองล้า การสูญเสียความสามารถในการรับรู้ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ทัน ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน อาการไม่สุขสบายหลังการออกกำลังกาย และปวดตามข้อ โดยอาการเหล่านี้มักมีความหนักเบาสลับกันไป

ผลกระทบจากการฉีดวัคซีนต่อ ภาวะลองโควิด

ราว 10-30 % ของผู้ป่วยโรคโควิด 19 มีอาการป่วยที่ค่อนข้างยืดเยื้อยาวนาน ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิดลดลงถึง 40 % ในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อโควิดหลังได้รับวัคซีน 2 เข็ม จากการศึกษาพบว่าหากผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนได้ฉีดวัคซีนหลังการติดเชื้อ จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะลองโควิดได้ในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มเดียวกันที่ยังคงไม่ฉีดวัคซีนหลังติดเชื้อ

สาเหตุการเกิดภาวะลองโควิด

ภาวะลองโควิดเป็นศัพท์บัญญติที่อาจจะครอบคลุมกลุ่มอาการหลากหลาย ที่มีสาเหตุของโรคแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ในบางรายระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานไวเกินไปจากการติดเชื้อแล้วไม่สามารถลดภูมิลงได้ในภายหลัง จนเกิดปฏิกิริยาต่อต้านร่างกายคล้ายโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง โดยอาการดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการที่ซากเชื้อไวรัสที่ยังคงตกค้างอยู่ในร่างกายหลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการติดเชื้อเฉียบพลันครั้งแรก การมีไวรัสหลงเหลืออยู่เป็นเวลานานหลบตัวในที่ที่เข้าถึงยากก็มีความเป็นไปได้ จากการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์เร็ว ๆ นี้ พบว่าหลังจากที่เชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ถูกกำจัดหมดแล้ว ซากเชื้อไวรัสยังคงตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้เป็นเวลานาน โดยปล่อยเศษชิ้นส่วนสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2 RNA) มาทางอุจจาระ อีกการศึกษาหนึ่งชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่สามารถคาดคะเนความเสี่ยงของการเกิดภาวะลองโควิด อันได้แก่ การที่ผู้ป่วยมีระดับอาร์เอ็นเอ (RNA) ของไวรัสสูงระหว่างที่ติดเชื้อ การเกิดภูมิแอนติบอดีต้านตนเองบางชนิด ไวรัส EBV (Epstein-Barr virus) ที่ซ่อนเร้นอยู่ในร่างกายถูกกระตุ้นให้ประทุขึ้นมาใหม่ และเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2

ผลกระทบของระบบไหลเวียนโลหิต

  • ในระบบหมุนเวียนโลหิต ลิ่มเลือดขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาจอุดตันเส้นเลือดฝอยและจำกัดการแพร่ตัวของออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อของร่างกายทำให้เกิดอาการอ่อนล้าง่าย แม้ว่าหัวใจและปอดจะทำงานเป็นปกติก็ตาม เส้นใยประสาทขนาดเล็กที่ทำงานผิดปกติมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัตินำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาทางการหายใจและระบบทางเดินอาหาร
  • ในส่วนของสมองนั้น อาจเกิดภาวะบกพร่องทางสมองอย่างต่อเนื่องแม้ในรายที่มีอาการโรคโควิดไม่รุนแรง การที่เซลล์ระบบภูมิคุ้มกันสมองไมโครเกลียถูกกระตุ้นมากเกินไปทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในสมอง ปริมาณเลือดไหลเวียนไปยังสมองลดลงและพบว่ามีการสูญเสียเซลล์ประสาทเฉพาะที่ในหลายส่วนของสมอง
  • สำหรับอาการทางปอดของผู้ป่วยลองโควิด มักพบอาการหายใจหอบง่าย แม้ว่าฟิลม์เอกซ์เรย์ปอด การถ่ายภาพปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการทดสอบการทำงานของปอดจะปกติก็ตาม  แต่การตรวจด้วยคลื่นวิทยุร่วมกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบพิเศษสามารถแสดงร่องรอยความเสียหายของปอดที่มองข้ามได้ง่าย สาเหตุของภาวะดังกล่าวอาจได้แก่ การแพร่ตัวของออกซิเจนจากอากาศไปสู่เลือดน้อยลงเพราะผนังกั้นระหว่างถุงลมปอดและเส้นเลือดฝอยหนาขึ้น

แนวทางการรักษาในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต

ด้วยปัญหาที่ใหญ่และมีปริมาณมากดังกล่าว โรงพยาบาลหลายแห่งจึงให้บริการ โปรแกรมการฟื้นฟูหลังติดเชื้อโควิด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพแพทย์เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในหลายระบบอวัยวะ การระบุภาวะอาการที่จำเพาะเจาะจงของผู้ป่วยแต่ละรายมีความสำคุญต่อการกำหนดแนวทางการรักษา โดยขณะนี้มีการรักษาตามตามหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่ไม่มาก การรักษามักจำกัดอยู่ที่การบรรเทาอาการของโรคและการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การบำบัดทางการฝึกหายใจ การวิจัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เราเข้าใจภาวะลองโควิดดีขึ้นและค้นพบการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล่าสุดมีรายงานยาต้านไวรัสโควิดบางตัวช่วยรักษาลองโควิดอย่างได้ผลดี

เผยแพร่เมื่อ: 07 มิ.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน