อาการ สาเหตุ การตรวจวินิฉัย และการรักษามะเร็งรังไข่ Ovarian Cancer - Symptoms, Causes, Diagnosis and Treatment

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ เกิดจากการที่เซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วที่รังไข่ (ซึ่งเป็นหนึ่งในอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง อยู่ใต้ปีกมดลูกทั้ง 2 ด้าน)

แชร์

โรคมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ เกิดจากการที่เซลล์มะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วที่รังไข่ (ซึ่งเป็นหนึ่งในอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง อยู่ใต้ปีกมดลูกทั้ง 2 ด้าน) การรักษาหลักของโรคมะเร็งรังไข่คือ การผ่าตัด และตามด้วยการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

อาการของโรคมะเร็งรังไข่

ในระยะแรกโรคมะเร็งรังไข่มักไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก ซึ่งอาการที่แสดงส่วนใหญ่มักคล้ายกับปัญหาทางด้านสุขภาพทั่ว ๆ ไป ลักษณะอาการมีดังนี้

  • คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ปวดท้องน้อย หรือรู้สึกอึดอัดบริเวณเชิงกราน
  • น้ำหนักลดลง
  • เบื่ออาหาร
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • มีอาการปวดหลัง
  • ระบบขับถ่ายมีปัญหา เช่น มีอาการท้องผูก หรือท้องเสีย
  • ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ


เมื่อไรที่ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อมีอาการดังกล่าวมากขึ้นหรือก่อให้เกิดความวิตกกังวล ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง

สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่

สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยโรคมะเร็งรังไข่จะเริ่มมาจากมีการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่ในรังไข่ เมื่อเกิดกลายพันธุ์ จะทำให้เซลล์มีการเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่การเกิดเนื้องอกมะเร็งของรังไข่

ประเภทของมะเร็งรังไข่

ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภทของเซลล์และระยะของโรค โดยสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งรังไข่ ได้ดังนี้

  • มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ (Epithelial ovarian tumors) เป็นประเภทที่พบได้บ่อย โดยจะมีการแบ่งออกเป็นกลุ่มประเภทย่อย ๆ เช่น Serous และ Mucinous carcinoma เป็นต้น
  • เนื้องอกบริเวณเซลล์สืบพันธุ์ (Germ cell tumors) เป็นประเภทที่พบได้น้อย มักพบในคนอายุน้อย
  • เนื้องอกบริเวณเนื้อเยื่อสโตรมา (Stromal tumors)  พบได้น้อยมาก แต่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรก


ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่
มีดังนี้

  • อายุ - เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่สูงขึ้นด้วย จากการตรวจวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งรังไข่มักพบในผู้สูงอายุ
  • กรรมพันธุ์ โดยยีนส์ประเภท BRCA1 และ BRCA2 จะเป็นตัวที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านมได้ นอกจากนี้ การอยู่ในกลุ่มอาการลินช์ รวมถึงยีนส์ BRIP1 RAD51C และ RAD51D เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่เช่นเดียวกัน
  • ประวัติบุคคลในครอบครัวหากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งประเภทอื่น ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้ป่วยจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น
  • การใช้ฮอร์โมนทดแทนยาฮอร์โมนชนิดยาคุมกำเนิดลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ แต่ยาฮอร์โมนบางชนิดอาจกระตุ้นการเกิดมะเร็ง ทั้งนี้แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งรังไข่ได้
  • ช่วงวัยเริ่มที่มีประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนบุคคลที่เริ่มมีประจำเดือนไวกว่าหรือช้ากว่าคนทั่วไป จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่มากขึ้น


วิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งรังไข่

ยังไม่มีวิธีการที่เฉพาะเจาะจงที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้อาจสามารถช่วยป้องกันการเกิดในขั้นต้นได้

  • ยากินคุมกำเนิดการกินยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง นาน 5 ปีขึ้นไป สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้ถึง 50% อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้ยาคุมให้ดีก่อนเริ่มใช้ยา
  • การลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หากว่าผู้ป่วยมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านม ควรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจทางพันธุกรรมเพิ่มเติม หากตรวจพบ อาจมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรังไข่เพื่อป้องกันมะเร็งได้ ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนตัดสินใจ
  • การตรวจคัดกรอง - ไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ที่แม่นยำ
  • การอัลตราซาวนด์อุ้งเชิงกรานสม่ำเสมอ การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งรังไข่นั้นแนะนำให้ทำในผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่


    การวินิจฉัยโรค
    มะเร็งรังไข่

    • การตรวจภายในแพทย์จะทำการตรวจโดยการสวมถุงมือ สอดนิ้วเข้าไปตรวจภายในช่องคลอดพร้อมกับคลำหน้าท้องด้วยมืออีกข้างหนึ่ง เพื่อคลำขนาดของมดลูกและรังไข่
    • การวินิจฉัยด้วยภาพการอัลตราซาวนด์อุ้งเชิงกราน (ทางช่องคลอดหรือหน้าท้อง) เพื่อระบุขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของรังไข่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธี CT scan หรือ MRI ร่วมด้วย เพื่อดูรายละเอียดของก้อนและการกระจายของมะเร็ง
    • การตรวจเลือดและการทำงานของระบบอวัยวะในร่างกายอื่น ๆ - เพื่อทำการตรวจสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ ได้แก่ CA125 (Cancer Antigen 125) CA19-9 CEA และค่า HE4 (Human epididymal protein 4) เพื่อเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น โดยเป็นการตรวจหาสารโปรตีนภายในพื้นผิวของเซลล์มะเร็งบริเวณรังไข่ ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้
    • การผ่าตัด ส่งตรวจชิ้นเนื้อ - เป็นการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด แพทย์ต้องทำการผ่าตัดนำรังไข่ออกมาและส่งตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยมะเร็ง ใช้ข้อมูลที่ได้จากการผ่าตัดเพื่อประเมินระยะของมะเร็ง ซึ่งแบ่งออกเป็นระยะที่ 1 ถึง 4 โดยระยะแรกเริ่มจะแสดงให้เห็นว่ามีการเกิดมะเร็งเพียงแค่บริเวณภายในรังไข่ และระยะสุดท้ายบ่งบอกได้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้ว
    • การตรวจทางพันธุกรรม – เพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม แนะนำในบางกรณีซึ่งจะสามารถช่วยให้สามารถกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้ผู้ป่วยได้ ซึ่งหลังจากทราบผล ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลให้บุคคลในครอบครัวทราบ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่เช่นเดียวกัน

    การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งรังไข่ - Surgery is the mainstay of ovarian cancer treatment.

    การรักษาโรคมะเร็งรังไข่

    การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งรังไข่ ส่วนการรักษาโดยเคมีบำบัดมักเป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง

    การผ่าตัด

    ลักษณะของการผ่าตัดเพื่อทำการรักษามะเร็งรังไข่

    • การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ข้างที่ตรวจพบ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง และเนื้อเยื่อไขมันที่ปกคลุมอวัยวะภายในช่องท้องออกด้วย เป็นการรักษาหลักเพื่อรักษาและกำหนดระยะของโรค
    • ในกรณีที่พบมะเร็งในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก และอาจแนะนำผ่าตัดมดลูกออกด้วยในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก หรือกรณีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือเข้าวัยทองแล้ว
    • การผ่าตัดมะเร็งระยะปลาย – ในกรณีนี้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งออกให้ได้มากที่สุด

    การรักษาด้วยเคมีบำบัด

    เป็นแนวทางการรักษาหลังการผ่าตัด โดยจะใช้สารเคมีเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย โดยอาจใช้วิธีการฉีดสารเคมีเข้าไปยังเส้นเลือดหรือการรับประทาน มักจะมีการใช้การรักษาโดยเคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัด (Adjuvant chemotherapy)  เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจยังตกค้างภายในร่างกาย หรือในบางกรณีอาจมีการใช้ก่อนการผ่าตัด (Neoadjuvant chemotherapy) เพื่อลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้สามารถผ่าตัดออกให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามในระยะที่ 4 การให้ยาเคมีบำบัดจะเป็นการรักษาหลักเมื่อไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด

    อีกแนวทางหนึ่งในการใช้เคมีบำบัดของมะเร็งรังไข่ คือใช้เป็นขั้นตอนต่อจากการผ่าตัด โดยวิธีเพิ่มอุณหภูมิของสารเคมีบำบัดให้สูงกว่าร่างกาย (hyperthermic intraperitoneal chemotherapy) ก่อนที่จะใส่เข้าในช่องท้องและปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้สัมผัสและทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัด ก่อนที่จะล้างออก

    การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า

    การรักษาประเภทนี้ใช้สารที่มีโมเลกุลเล็ก หรือแอนติบอดีเชิงเดี่ยวไปจับกับโปรตีนที่มีบทบาทในการกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็ง มักมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด โดยแพทย์อาจต้องทำการตรวจเซลล์มะเร็งก่อน เพื่อยืนยันว่าการใช้แนวทางการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า เป็นแนวทางที่เหมาะสม การรักษาแบบนี้มักใช้ร่วมหรือหลังรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

    การรักษาด้วยฮอร์โมน

    ใช้ยาเพื่อยับยั้งผลกระทบของฮอร์โมนเอสโตรเจนไปยังเซลล์มะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งบางประเภทสามารถเติบโตได้จากฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยส่วนใหญ่แนวทางการรักษาด้วยฮอร์โมนมักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่ที่มีการแพร่กระจายช้า หรือใช้ในการรักษามะเร็งที่มีการเกิดขึ้นซ้ำ

    การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

    แนวทางการรักษาจะเป็นการใช้ระบบภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์มะเร็ง โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไม่ทำลายเซลล์มะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งมีการสร้างโปรตีนซึ่งช่วยในการซ่อนตัวจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งการรักษาวิธีนี้จะไปทำลายกระบวนการทำงานดังกล่าว

    การดูแลรักษาแบบประคับประคอง

    เป็นวิธีการรักษาโดยทีมแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการดูแลประคับประคองคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว โดยทีมที่ทำการรักษาจะคอยดูแลบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย โดยประสานงานร่วมกับผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว รวมถึงแพทย์เพื่อช่วยให้การรักษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  การใช้วิธีการนี้จะสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีกำลังใจและสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ยาวนานยิ่งขึ้น

    การรับมือและช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่

    การรับมือและทำใจยอมรับผลจากการวินิจฉัยอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วย ข้อแนะนำต่าง ๆ ดังนี้อาจช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นได้

    • การพูดคุยพยายามพูดคุยกับบุคคลที่ไว้วางใจ โดยอาจเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว หรือการเข้าร่วมกลุ่มบำบัด
    • การขอความช่วยเหลือการรักษาโรคมะเร็งรังไข่อาจยาวนาน และทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า หมดกำลังใจ ดังนั้นจึงควรขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นในเวลาที่จำเป็น
    • การตั้งเป้าหมาย – การตั้งเป้าหมายจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีจุดหมาย รู้ถึงจุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่ และทำให้รู้สึกว่ายังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามเป้าหมายที่ตั้งควรเป็นเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้จริง
    • การให้เวลาดูแลตัวเองการดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การพักผ่อน หรือการนอนหลับ เพื่อช่วยคลายความเครียด และความเหนื่อยล้าที่เกิดจากโรค


    การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์

    หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยอาจป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ อาจทำการส่งตัวไปรักษาต่อกับสูตินารีแพทย์ด้านมะเร็ง

    วิธีการเตรียมตัวพบแพทย์

    • เตรียมบันทึกลักษณะอาการต่าง ๆ ที่เป็น รวมถึงอาการที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งรังไข่
    • เตรียมประวัติการรักษาของตนเองให้ครบถ้วน รวมถึงประวัติทางด้านสุขภาพ
    • บันทึกข้อมูลส่วนตัวด้านอื่น ๆ รวมถึงกรณีที่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต
    • จดรายการยา วิตามิน อาหารเสริมหรือสมุนไพรที่มีการใช้ในปัจจุบัน

    สิ่งที่อาจพบเจอโดยแพทย์ที่ทำการรักษา

    • การตรวจร่างกายทั่วไป รวมถึงการตรวจภายใน
    • อัลตราซาวนด์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน หรืออาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม
    • เจาะเลือดเพื่อหาความผิดปกติ รวมถึงสารมะเร็งรังไข่

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 13 มิ.ย. 2022

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย   เรืองแก้วมณี

    นพ. ศุภชัย เรืองแก้วมณี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. ดำรง ตรีสุโกศล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    General Surgery, Minimally Invasive Surgery
  • Link to doctor
    พญ. สุจารี พิมลพันธุ์

    พญ. สุจารี พิมลพันธุ์

    • ศัลยศาสตร์
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
  • Link to doctor
    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Endoscopy, Minimally Invasive Surgery, Sexual Medicine
  • Link to doctor
    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Pathology, Gynecologic Cytology, Cervical Cytology
  • Link to doctor
    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช