โรคปอดบวม ปอดอักเสบ
โรคปอดบวม ปอดอักเสบ คือ ภาวะติดเชื้อในปอด ซึ่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ทั้งนี้ เนื่องจากในถุงลมปอดอาจมีของเหลวหรือหนองคั่งสะสม มีเสมหะสีเขียวเหลือง มีไข้หนาวสั่น และหายใจลำบากร่วมด้วย
อาการของโรคปอดบวม ปอดอักเสบ
ผู้ที่เป็นโรคปอดบวม ปอดอักเสบจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น
- เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจหรือไอ
- ผู้ป่วยสูงอายุอาจมีอาการซึมและสับสน
- ไอมีเสมหะ
- อ่อนเพลีย
- มีไข้ เหงื่อออกมากและหนาวสั่น
- มีอุณหภูมิร่างกายลดลงกว่าปกติ โดยเฉพาะ ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย
- หายใจหอบถี่
เมื่อใดควรพบแพทย์
ผู้ป่วยในกลุ่มต่อไปนี้ ที่มีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก มีไข้ต่อเนื่อง เช่นอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 เซลเซียสขึ้นไป หรือมีอาการไอต่อเนื่อง ควรพบแพทย์
- เป็นผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- เป็นผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีลงมา
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการทำเคมีบำบัดหรือรับยากดภูมิ
ปอดบวมเกิดจากสาเหตุใด?
โรคปอดบวมเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและปล่อยให้เชื้อโรคบางชนิดเข้าสู่ปอดและเกิดการติดเชื้อลุกลามขึ้น แม้ว่าสุขภาพจะยังดีอยู่แล้ว แต่บางครั้ง เชื้อโรคเหล่านี้แข็งแรงมากจนระบบภูมิคุ้มกันต้านไม่ได้ โรคปอดบวมมี 4 ประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคและตำแหน่งที่ติดเชื้อ ได้แก่:
- โรคปอดอักเสบชุมชน (Community-acquired Pneumonia) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและเกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โดยทั่วไปเกิดจากแบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตที่คล้ายแบคทีเรีย ไวรัส รวมถึง โควิด -19
- ปอดอักเสบที่ติดมาจากโรงพยาบาล (Hospital-acquired Pneumonia)
- ปอดอักเสบที่เกิดจากการเข้ารับการบริการด้านสุขภาพ (Healthcare-associated Pneumonia)
- โรคปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร หรือน้ำลาย (Aspiration Pneumonia)
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ได้แก่ :
- เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
- มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ตับแข็ง
- สูบบุหรี่
- มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือกินยากดภูมิ
การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ ปอดบวม
แพทย์อาจเริ่มการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติผู้ป่วยเพื่อทำความเข้าใจสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย พร้อมกับการตรวจร่างกายและตรวจสุขภาพอื่น ๆ เช่น:
- การตรวจเลือด
- การถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ (Chest X-Ray)
- การตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร
- การตรวจเสมหะ
ในบางกรณี แพทย์อาจเลือกการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือมีอาการรุนแรง:
- การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- การเพาะเชื้อจากของเหลวในเยื่อหุ้มปอด หรือการส่องกล้องผ่านหลอดลม
การรักษาโรคปอดบวม ปอดอักเสบ
แพทย์มักเลือกใช้วิธีการรักษาที่เน้นการรักษาการติดเชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึง:
- การใช้ยาปฏิชีวนะ
- การใช้ยาละลายเสมหะ ช่วยลดอาการไอ
- การใช้ยาลดไข้/ยาแก้ปวด
การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์
ก่อนพบแพทย์ ผู้ป่วยควร
- เก็บบันทึกรายละเอียดอาการของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น
- เตรียมรายการยาที่ผู้ป่วยเคยใช้หรือกำลังใช้อยู่ นำประวัติเก่ารวมทั้ง X-Ray ปอดที่เคยทำก่อนหน้า
- นำสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนไปด้วย เพื่อช่วยจดจำคำถามที่จะถามและสิ่งที่แพทย์อธิบาย
- เตรียมคำถามที่อาจต้องถามแพทย์
แพทย์มักจะถามคำถามหลายข้อในระหว่างการซักประวัติคนไข้ เช่น:
- ผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการครั้งแรกเมื่อใด
- ผู้ป่วยป่วยต่อเนื่องหรือเป็นแค่ครั้งคราว การรักษาที่ได้รับก่อนหน้าเป็นอย่างไร
- ผู้ป่วยเคยสัมผัสกับผู้ป่วยอื่นจากที่บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงานหรือไม่
- ผู้ป่วยเคยรับวัคซีนไข้หวัดหรือปอดบวมมาก่อนหรือไม่
การป้องกันโรคปอดอักเสบ ปอดบวม
เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยสามารถทำได้ดังนี้:
- งดสูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่จากคนรอบข้าง
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ