ระยะของมะเร็งเต้านม - Stage of Breast Cancer

ระยะของมะเร็งเต้านม (Stage of Breast Cancer)

มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้

แชร์

ระยะของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะที่ใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ เมื่อเซลล์มะเร็งมีจำนวนมากขึ้นก็จะแย่งสารอาหารและปล่อยสารบางอย่างที่เป็นอันตรายและทำลายอวัยวะต่างๆ จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

มะเร็งเต้านม พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด  จากสถิติของสถานวิทยามะเร็งโรงพยาบาลศิริราช พบมะเร็งเต้านมเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้อาจเป็นผลจากการมีเครื่องแมมโมแกรมที่ช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ก่อนที่จะปรากฏอาการ และอาจเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีแนวโน้มใกล้เคียงประเทศทางตะวันตกมากขึ้น มีมลภาวะต่างๆ มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงป่วยมะเร็งเต้านมมากขึ้น

ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งเต้านม สถิติในปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเฉลี่ยประมาณ 30 - 40 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งยังเป็นอัตราที่ต่ำกว่าประเทศทางตะวันตก แต่ผู้หญิงบางกลุ่มมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไป ได้แก่

  • ผู้หญิงที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นญาติใกล้ชิด เช่น แม่ พี่สาวหรือน้องสาว เป็นต้น
  • ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  • ผู้หญิงที่รอบเดือนมาเร็ว และหมดช้า หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป

ผู้หญิงในกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปราว 1.5 เท่า แต่หากว่าญาติใกล้ชิดซึ่งป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการวินิจฉัยขณะที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นประมาณ 3 เท่าของผู้หญิงปกติ

มะเร็งเต้านม ส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง และโดยมากเกิดเมื่ออายุมาก เช่น อายุที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งเต้านมได้แก่อายุประมาณ 45-50 ปี

ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในประเทศไทยส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจมีขนาดของก้อนมะเร็งใหญ่เล็กแตกต่างกันอย่างไรก็ตามการมีก้อนที่เต้านมในผู้หญิงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป ก้อนในเต้านมส่วนมากไม่ใช่มะเร็ง จากสถิติพบว่าถ้าพบก้อนที่เต้านมในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเพียง 1.4% แต่ถ้าพบก้อนในผู้หญิงที่มีอายุมากว่า 50 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงถึง 58% ดังนั้น หากท่านคลำพบก้อนที่เต้านม ขอให้ท่านอย่าได้นิ่งนอนใจ ไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาตามความเหมาะสม และนอกจากก้อนที่เต้านมแล้วอาการอย่างอื่นที่ควรมาพบแพทย์ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหน้าอก เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัวหนาผิดปรกติคล้ายเปลือกส้ม หรือบางส่วนเกิดเป็นสะเก็ด ความเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น มีการหดตัว หัวนมบอด คันหรือแดงผิดปรกติ เลือดออกทางหัวนม อาการเจ็บเต้านม หรือ มีก้อนที่รักแร้ ท่านไม่ควรปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว

มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่หนึ่ง ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • ระยะที่สอง ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2 - 5 ซม. และ/หรือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน
  • ระยะที่สาม ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันอย่างมาก จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองเหล่านั้นมารวมติดกันเป็นก้อนใหญ่หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียง
  • ระยะที่สี่ ก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไหร่ก็ได้ แต่พบว่ามีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น

มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก คือ ระยะที่ 1 และ 2 หรือในระยะที่ 3 บางรายมีพยากรณ์โรคที่ดี คือมีอัตราอยู่รอดเกินห้าปี ประมาณ 70 - 90%

วิธีการรักษามะเร็งเต้านม

วิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน มีอยู่ 5 วิธี คือ

  1. การรักษาโดยการผ่าตัด
  2. การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)
  3. การรักษาโดยยาต้านฮอร์โมน
  4. การรักษาโดยยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยยาที่มีการออกฤทธิ์จำเพาะ

มะเร็งเต้านม ระยะเริ่มแรกรักษาโดยการผ่าตัดเป็นอันดับแรก และส่วนมากต้องการการรักษาวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อเสริมให้ผลการรักษาดีขึ้น เช่น ผ่าตัดก่อน หลังจากแผลหายจึงให้ยาเคมีบำบัด ต่อจากนั้นรักษาโดยการฉายแสงร่วมกับการให้ยาต้านฮอร์โมน ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค คุณสมบัติของมะเร็งรวมถึงวิธีการผ่าตัด เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ทำให้การรักษาย่อมมีความแตกต่างกันตามไปด้วยควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ในกรณีที่ยังมีความสงสัยอาจปรึกษาแพทย์ท่านอื่นๆ เพื่อสอบถามความเห็นเพิ่มเติมได้

บทความโดย

  • ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย โอเจริญรัตน์
    ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย โอเจริญรัตน์ ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศีรษะ ลำคอ และเต้านม

เผยแพร่เมื่อ: 15 ก.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. กิตต์วดี ศักดิ์ศรชัย

    พญ. กิตต์วดี ศักดิ์ศรชัย

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Advanced Radiotherapy, Breast Clinical Oncologist, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. นวลพรรณ พลชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast and Thyroid Surgery, Breast Conserving Surgery, Breast Reconstruction with Autologous Flap and Prosthesis, Transaxillary Endoscopic Thyroidectomy
  • Link to doctor
    พญ. จียิน  วรวิทธิ์เวท

    พญ. จียิน วรวิทธิ์เวท

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ตกแต่งเพื่อความงาม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
    Reconstructive Microsurgery, Breast Cosmetic and Reconstruction, Lymphatic Surgery, Facial Paralysis Reconstruction, Facial Reanimation, Endoscopic Carpal Tunnel Release
  • Link to doctor
    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Breast Surgery, Vascular Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    พญ. กรวรรณ จันทรจำนง

    พญ. กรวรรณ จันทรจำนง

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ดนิตา กานต์นฤนิมิต

    ผศ.พญ. ดนิตา กานต์นฤนิมิต

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Image-Guided Radiotherapy (IGRT), Stereotactic Radiosurgery (SRS), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Clinical Interest in Breast Cancer, Clinical Interest in Head and Neck Cancer, Clinical Interest in Lung Cancer, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    นพ. ยงยุทธ คงธนารัตน์

    นพ. ยงยุทธ คงธนารัตน์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology, Breast Cancer, มะเร็งต่อมลูกหมาก, Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Image-Guided Radiotherapy (IGRT), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Stereotactic Radiosurgery (SRS)
  • Link to doctor
    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    รศ.พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    รศ.พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    ศ.นพ. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล

    ศ.นพ. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Head Cancer, Neck Cancer, Breast Cancer, โรคมะเร็งปอด, Esophageal Cancer, Gastroesophageal Cancer, Pancreaticobiliary Cancer, Soft Tissue Sarcoma, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. รับพร สุขพานิช

    พญ. รับพร สุขพานิช

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Thyroid Surgery, Parathyroid Surgery
  • Link to doctor
    นพ. วรเทพ กิจทวี

    นพ. วรเทพ กิจทวี

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
  • Link to doctor
    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Breast Surgery, Laparoscopic Abdominal Surgery, Endoscopic Thyroid Surgery, Surgical Treatment of Gastrointestinal Malignancies, Breast Cancer Surgery
  • Link to doctor
    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery