อาการ สาเหตุ และการรักษาเนื้องอกต่อมไทรอยด์  - Thyroid nodules: Symptoms, Causes and Treatment

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules)

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ มักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เนื้องอกที่มีขนาดใหญ่จะสามารถคลำพบหรือมองเห็นได้ที่คอ ซึ่งเนื้องอกเหล่านี้อาจจะไปเบียดหลอดอาหาร ทำให้มีปัญหาด้านการกลืนหรือหายใจติดขัด

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เนื้องอกต่อมไทรอยด์ คืออะไร?

ต่อมไทรอยด์ เป็นอวัยวะที่อยู่ระหว่างกล่องเสียงและระดับของกระดูกไหปลาร้า ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานและการกักเก็บพลังงานสำรองของร่างกาย เนื้องอกต่อมไทรอยด์มักเป็นทรงกลมหรือวงรี และมักพบได้บ่อย เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรจะมีเนื้องอกต่อมไทรอยด์อย่างน้อย 1 ก้อน โดยราว 95% ไม่เป็นเนื้อร้าย

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ มีกี่ประเภทอะไร?

เนื้องอกต่อมไทรอยด์แบบไม่เป็นมะเร็ง

  • ก้อนไทรอยด์ตะปุ่มตะป่ำ (Multinodular goiter)
  • ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Hashimoto's thyroiditis)
  • คอล์ลอยด์ซีสต์ (Colloid cyst)
  • เนื้องอกไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Follicular adenomas)

เนื้องอกต่อมไทรอยด์แบบเป็นมะเร็ง

  • มะเร็งไทรอยด์ชนิดพาพิลลารี่ (Papillary carcinoma)
  • มะเร็งไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Follicular carcinoma)
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดเมดัลลารี (Medullary carcinoma)
  • มะเร็งไทรอยด์ชนิดอะนาพลาสติก (Anaplastic carcinoma)
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของต่อมไทรอยด์ (Primary thyroid lymphoma)
  • มะเร็งระยะลุกลามไปที่ต่อมไทรอยด์ จากมะเร็งเต้านมและไต (Metastic carcinoma)

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ มีอาการอย่างไร?

เนื้องอกต่อมไทรอยด์ มักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เนื้องอกที่มีขนาดใหญ่จะสามารถคลำพบหรือมองเห็นได้ที่คอ ซึ่งเนื้องอกเหล่านี้อาจจะไปเบียดหลอดอาหาร ทำให้มีปัญหาด้านการกลืนหรือหายใจติดขัด หากเนื้องอกต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมน thyroxine (T4) ออกมามาก อาจนำไปสู่ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป ผู้ป่วยจะเหงื่อออกมาก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ มือสั่น ขี้หงุดหงิด

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

แม้ว่าเนื้องอกต่อมไทรอยด์จะไม่เป็นเนื้อร้าย แต่เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสัญญาณของโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลืนอาหารหรือหายใจลำบาก

หากน้ำหนักลดลง แม้ว่าจะรับประทานหรืออยากอาหารเป็นปกติหรือเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรเข้ารับการตรวจว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไปหรือไม่

หากรู้สึกหนาวบ่อย ๆ เหนื่อยง่าย หดหู่ ผิวแห้ง ท้องผูก หรือมีปัญหาเรื่องความจำ นี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยเกินไป

ภาวะแทรกซ้อนจากเนื้องอกต่อมไทรอยด์

  • ภาวะกลืนลำบากเนื่องจากเนื้องอกไทรอยด์
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคกระดูกพรุน และภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติซึ่งพบได้น้อยแต่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์เนื่องจากการผ่าตัดไทรอยด์ออกไป ซึ่งทำให้ต้องพึ่งพาการใช้ยาบำบัดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

การตรวจวินิจฉัยเนื้องอกต่อมไทรอยด์ มีอะไรบ้าง?

  • การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลาย เพื่อดูว่ามีเนื้องอกหรือไม่ แพทย์จะตรวจดูอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไปและภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยเกินไปด้วย
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพื่อวัดระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ในเลือด (thyroid-stimulating hormone: TSH) และดูว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไปและภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยเกินไปหรือไม่
  • การอัลตราซาวด์ เพื่อถ่ายภาพเนื้องอกต่อมไทรอยด์เพื่อดูว่าเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้องอก และตรวจดูปริมาณก้อนเนื้องอก
  • การใช้เข็มเจาะดูดชิ้นเนื้อโดยใช้อัลตราซาวด์นำทาง สามารถทำเป็นหัตถการแบบผู้ป่วยนอกได้ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หลังจากนั้นชิ้นเนื้อจะถูกนำส่งไปตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ในห้องปฏิบัติการ
  • การทำไทรอยด์สแกน (Thyroid scan) แพทย์จะทำการฉีดสารไอโซโทปกัมมันตรังสีให้ผู้เข้ารับการตรวจก่อนที่จะทำการถ่ายภาพต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากจะดูดซับไอโซโทปมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ เนื้องอกประเภทนี้คือ hot nodule ซึ่งมักไม่เป็นมะเร็ง เนื้องอกที่ดูดซับไอโซโทปได้น้อยคือ cold nodule มักเป็นเนื้อร้าย ซึ่งต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

วิธีการรักษาเนื้องอกต่อมไทรอยด์ มีกี่วิธี?

  1. วิธีการรักษาเนื้องอกไทรอยด์ที่ไม่เป็นมะเร็ง
    • การเฝ้าระวัง
      ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ตามนัดทุกครั้งเพื่อดูว่าต่อมไทรอยด์โตขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่
    • การรับประทานยาบำบัดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
    • การผ่าตัด 
      แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดหากเนื้องอกไปอุดกั้นหลอดลมหรือหลอดอาหาร รวมถึงเนื้องอกที่อาจสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
  2. วิธีการรักษาเนื้องอกไทรอยด์จากภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป
    • การกลืนแร่
      ผู้ป่วยจะทำการกลืนแร่ในรูปแบบแคปซูลหรือน้ำเพื่อทำให้เนื้องอกหดตัว อาการมักดีขึ้นภายในเวลา 2-3 เดือนหลังเข้ารับการรักษา  
    • ยาต้านไทรอยด์
      เป็นการรักษาระยะยาว ผู้ป่วยจะรับประทานยา methimazole เพื่อบรรเทาอาการต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
    • การผ่าตัด
  3. วิธีการรักษามะเร็งไทรอยด์
    • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์บางส่วนหรือทั้งหมดออกไป
      หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาบำบัดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ความเสี่ยงจากการผ่าตัดได้แก่เส้นประสาท เส้นเสียง หรือต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) ได้รับความเสียหาย

อาการเนื้องอกต่อมไทรอยด์ - Thyroid Nodules

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 05 ก.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป