ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีการรุนแรง ควรจะต้องดูแลตนเองให้ดีเพื่อประคับประคองสถานการณ์ให้สามารถดำรงชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ต้องควบคุมน้ำหนักของตนให้ดี เพราะน้ำหนักร่างกายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ภาวะอาการของโรคมีมากขึ้น
- กิจกรรมที่ทำให้เกิดการเสี่ยงความทรุดของข้อมาก ๆ เช่น ท่าทางที่พับเข่ามาก ๆ อย่างการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยอง หรือกระโดดหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ทำให้ข้อเสื่อมได้มากขึ้น
- ต้องบริหารกล้ามเนื้อให้ดี ถ้าข้อสะโพกก็บริหารกล้ามเนื้อต้นขา ข้อเข่าก็บริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
- การประคบข้อที่อักเสบด้วยความร้อน การประคบครั้งละสักสิบนาที ก็จะผ่อนคลายการระบมอักเสบไป แล้วก็ความเจ็บปวดก็จะลดลงไป
สิ่งเหล่านี้ก็จะประคองให้ข้อที่เสื่อม ยังสามารถพอจะใช้ได้ในชีวิตประจำวันไปได้เรื่อย ๆ
วิธีสังเกตอาการของตัวเองว่าถึงเวลาที่ควรเข้ามาพบแพทย์
ถ้าหากความเจ็บปวดนั้นรบกวนชีวิตประจำวันเรามากขึ้น เช่น วันนี้เดินได้สิบก้าวมีอาการปวด วันต่อไปมีอาการปวดเมื่อเดินได้ห้าก้าว เราช่วยเหลือตนเองในแต่ละวันลำบากมากขึ้น ต้องพึ่งคนอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ อาการเจ็บปวดนั้นไม่สามารถคลายปวดได้เอง หรือในระยะเวลาหนึ่งอาทิตย์สองอาทิตย์ไม่ดีขึ้นเลย อาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะอื่นหรือภาวะใดๆ ที่ทำให้เป็นอย่างนั้น
สามารถเข้ารับการผ่าตัดในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้หรือไม่
ในกรณีที่ ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่เป็นระยะรุนแรงจนต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเมดพาร์คได้ด้วยความเชื่อมั่นในความปลอดภัย และบุคลากรที่นี่ทุกท่านได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันแล้วทุกคน บุคลากรทุกคนได้รับการฝึกปฏิบัติการแยกประเภทผู้ป่วยในแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน สถานที่ของโรงพยาบาลมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนสำหรับการให้บริการผู้ป่วยในแต่ละด้าน โดยผู้ป่วยที่จะเข้ามารับการรักษาโดยการผ่าตัดจะได้รับการคัดกรอง ตรวจภาวะความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงญาติและผู้ติดตามของผู้ป่วยก็จะได้รับการคัดกรองด้วยเช่นกัน นี่คือมาตรการที่โรงพยาบาลเมดพาร์คให้ความเชื่อมั่นว่าผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าข้อสะโพกเทียมจะได้รับการดูแลรักษาให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี
บทความโดย
ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
ประวัติแพทย์