คลินิกผู้สูงวัย

ชั้น 8 เคาน์เตอร์ C (EAST Lift)

โทร. 02-090-3129

8:00 - 20:00 น.

คลินิกผู้สูงวัย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปมากถึง 12.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ จึงจัดได้ว่าเป็นสังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ จากฐานข้อมูลของกรมการปกครองในปี พ.ศ.2565 พบว่า มีผู้ที่มีอายุเกิน 100 ปีขึ้นไป เพิ่มถึงกว่า 7,000 คน จากเมื่อ 10 ปีก่อน จึงคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2569 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2581 จะมีจำนวนผู้สูงวัยสูงถึง 20 ล้านคน  

โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย โดยมุ่งหวังให้ทุกท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพิงตนเองได้ดี จึงได้ออกแบบแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้เข้ารับบริการเป็นศูนย์กลาง พร้อมให้บริการตรวจประเมินสุขภาพผู้สูงวัยอย่างละเอียดครบทุกระบบของร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและฟื้นฟูความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และมุ่งหวังให้ผู้สูงวัยและสมาชิกครอบครัว สามารถใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

หัวใจ 4 ด้าน: ป้องกัน พัฒนา รักษา ฟื้นฟู

คลินิกผู้สูงวัย โรงพยาบาลเมดพาร์ค ให้บริการดูแลรักษาผู้สูงวัย ภายใต้หลักการ 4 ข้อ คือ

  • ป้องกัน 
  • พัฒนาส่งเสริม 
  • ซ่อมแซมรักษา 
  • ฟื้นฟูความสามารถ 

อายุรแพทย์ผู้สูงอายุจะให้ความสำคัญสูงสุดในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย ครอบคลุมทุกมิติของร่างกายโดยเฉพาะ 3 B ได้แก่ Brain Body และ Bone 

  • Brain (สมอง) ผู้สูงอายุจำนวนมากได้รับผลกระทบและมีความทุกข์ทรมานจากภาวะความจำบกพร่อง จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันโดยลำพังหรือปราศจากผู้ดูแลได้ การให้การรักษาและชะลอโรคสมองเสื่อม จึงทำให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง
  • Body (ร่างกาย) การตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาภาวะความเจ็บป่วย และโรคต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ด้วยวิธีการตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบนและล่าง หรือการตรวจอื่น ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ให้ผลตรวจละเอียดและแม่นยำ จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนรักษา และฟื้นฟูดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • Bone (กระดูก) เป็นอวัยวะที่ยึดโยงโครงร่างให้สามารถเดิน นั่ง หรือทรงตัวได้ หากผู้สูงวัยได้รับการดูแลกระดูกและข้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยชะลอและป้องกันความเสื่อมของกระดูกและข้อได้ ทั้งยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการหกล้ม กระดูกร้าว กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะทำให้คนไข้เกิดภาวะติดเตียงตามมาในที่สุด

ทำไมต้อง คลินิกผู้สูงวัย เมดพาร์ค  

  • มีอายุรแพทย์ผู้สูงอายุประจำคลินิก มีความชำนาญเฉพาะทางด้านโรคผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงวัยมักมีโรคร่วมและเจ็บป่วยพร้อมกันหลายโรค ต้องรับประทานยารักษาโรคจำนวนมาก และมีข้อจำกัดด้านร่างกายที่มีความซับซ้อนต่างจากวัยอื่น ๆ นอกจากนี้ เมดพาร์ค ยังมีความพร้อมของแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีทีมสหวิชาชีพ เช่น นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด เภสัชกร นักกำหนดอาหาร ตลอดจนพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง ที่มีประสบการณ์ในการดูแลคนไข้สูงวัยโดยเฉพาะ จึงสามารถเข้าใจความต้องการ และตระหนักถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของผู้สูงวัยเป็นอย่างดี   
  • มีเภสัชกรผู้ชำนาญการด้านยาของผู้สูงวัย ช่วยดูแลและบริหารจัดการยาสำหรับผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเจ็บป่วยหลายโรคพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องรับประทานยาร่วมกันหลายขนาน เพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงของยาและการเกิดปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างยา ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุได้ ดังนั้นการบริหารจัดการยาสำหรับคนไข้สูงวัย จึงจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญและความละเอียดรอบคอบของเภสัชกรเป็นอย่างมาก 
  • มีนักจิตวิทยาคอยให้คำปรึกษา เนื่องจากผู้สูงอายุอาจมีแนวโน้มมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นผลกระทบข้างเคียงมาจากภาวะความเจ็บป่วย ความเครียด และความเหงา เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ทั้งนี้นักจิตวิทยาจะให้คำปรึกษาควบคู่ไปกับการรักษาของอายุรแพทย์ผู้สูงวัย และหากประเมินแล้วพบว่ามีอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติม ก็จะดำเนินการส่งต่อไปยังจิตแพทย์ผู้ชำนาญการต่อไป 
  • การบริการอบอุ่นดุจสมาชิกในครอบครัว ทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคน พร้อมให้การดูแลผู้สูงวัยและครอบครัวแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ใส่ใจความต้องการของครอบครัว บรรยากาศภายในคลินิกจึงมีแต่ความอบอุ่นและผ่อนคลาย ช่วยให้ผู้สูงวัยและญาติรู้สึกวางใจ 

โรคและกลุ่มอาการเฉพาะทาง

  • โรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย ได้แก่ โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • กลุ่มโรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัมพฤกษ์ - อัมพาต โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
  • กลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคไต ภาวะไตวาย ไตเสื่อม ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นต้น
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจสั่นพลิ้ว หัวใจล้มเหลว เป็นต้น
  • กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ โรคปอดติดเชื้อ โรคถุงลมโป่งพอง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เป็นต้น
  • ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ เช่น ประสาทหูเสื่อมตามอายุ (ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุ) หูอื้อ หูหนวก หูแว่ว เป็นต้น
  • ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงวัย เช่น โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ภาวะเครียด นอนไม่หลับ เป็นต้น
  • ปัญหาโภชนาการในผู้สูงวัย เช่น อาการเบื่ออาหาร ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะกลืนอาหารลำบาก หรือสำลักบ่อย

การบริการตรวจวินิจฉัยและหัตถการ

  • ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงวัย  
  • ตรวจคัดกรอง และให้การรักษาภาวะสมองเสื่อม 
  • ตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของโรคต่าง ๆ  
  • ตรวจหาความผิดปกติของสมองและร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) 
  • ตรวจประเมินภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงวัย 
  • ตรวจและติดตามอาการของโรคเป็นระยะ ตามคำแนะนำของแพทย์
  • ให้คำปรึกษาเรื่องการให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีความต้องการพิเศษต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ป่วยติดเตียง 
  • ให้คำปรึกษาเพื่อการตรวจคัดกรองโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน และการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ความชำนาญพิเศษ

  • โรคกลุ่มที่มีความซับซ้อนในผู้สูงอายุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นต้น 
  • ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 
  • การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุ 1 คน อาจมีภาวะเจ็บป่วยร่วมกันมากกว่า 2 โรคขึ้นไป ทำให้ต้องรับประทานยาที่ใช้รักษาโรคร่วมกันพร้อมกันใน 1 มื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งการรับประทานยาร่วมกันหลายชนิด จำเป็นต้องมีการควบคุมและจัดการการรับประทานยาอย่างเหมาะสม โดยต้องมีการปรึกษาและวางแผนบริหารยาร่วมกันระหว่าง แพทย์  เภสัชกร และพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น ใช้ยาเกินขนาด ผลข้างเคียงจากการใช้ยา รวมทั้งเป็นการดูแลให้การรับประทานยามีความปลอดภัย ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการรักษา

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.พญ. สิรินทร  ฉันศิริกาญจน

    ผศ.พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน

    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรัณย์ ธนพฤฒิวงศ์

    ผศ.นพ. ศรัณย์ ธนพฤฒิวงศ์

    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    ภาวะสมองเสื่อม, สูญเสียความทรงจำ, ภาวะสับสนในผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    นพ. ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน

    นพ. ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน

    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม, การดูแลแบบองค์รวมสำหรับภาวะสมองเสื่อม, การป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ, การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    พญ. อรพิชญา ศรีวรรโณภาส

    พญ. อรพิชญา ศรีวรรโณภาส

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    ภาวะสมองเสื่อม, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล

    ผศ.พญ. ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล

    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์
    การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม
  • Link to doctor
    พญ. อัญชนา สุรอมรรัตน์

    พญ. อัญชนา สุรอมรรัตน์

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ธัญชนก จัตตารีส์

    พญ. ธัญชนก จัตตารีส์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ