ศูนย์เวชศาสตร์โรคจากการหลับ โรงพยาบาลเมดพาร์ด พร้อมให้บริการวินิจฉัย ให้คำปรึกษา บำบัด และรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาการที่มักเกิดขึ้นในยามกลางคืน เช่น อาการนอนไม่หลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ โรคลมชัก หรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในยามกลางวันเช่น โรคลมหลับ อาการง่วงผิดปกติในตอนกลางวัน เป็นต้น
เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ในตอนกลางวัน ส่งผลต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน และพฤติกรรมจากการนอนหลับในตอนกลางคืนก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในตอนกลางวันเช่นกัน การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพนั้นจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน และสุขภาพโดยรวมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความทรงจำที่แย่ลง ปัญหาความดันโลหิต ปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ การเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งปัญหาสุขภาพมากมายเหล่านี้สามารถส่งผลเสียร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ศูนย์เวชศาสตร์โรคจากการหลับโรงพยาบาลเมดพาร์ค จึงใส่ใจในการตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับการนอนหลับอย่างละเอียด และรักษาทุกปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับแบบองค์รวม นำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ ร่วมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง เพื่อมอบการรักษาที่มีคุณภาพ ให้ข้อมูลประกอบการรักษา รวมถึงคำแนะนำในการดูแลตัวเองหลังการรักษาอย่างละเอียด
ทำไมต้องศูนย์เวชศาสตร์โรคจากการหลับที่เมดพาร์ค
- รักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ ที่ได้รับประกาศนียบัตรอเมริกันบอร์ด
- ดูแลการตรวจการนอนหลับโดยเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับที่ได้ใบรับรอง The Registered Polysomnographic Technologist (RPSGT) จากอเมริกา และสมาคมโรคการนอนหลับแห่งประเทศไทย พร้อมให้บริการและดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
- มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการจากหลากหลายแผนกที่เกี่ยวข้อง พร้อมวินิจฉัย และทำการรักษาแบบองค์รวม เพื่อแก้ไขปัญหาโรคจากการนอนหลับในทุกมิติไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่อาการนอนไม่หลับอย่างเดียวเท่านั้น
- มีความเพียบพร้อมในการตรวจคุณภาพการนอนหลับอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคลื่นสมอง คลื่นหัวใจ ตรวจค่าออกซิเจนในร่างกาย อัตราและความลึกของการหายใจ รวมถึงการสังเกตการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะนอนหลับ
- ตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคเกี่ยวกับการนอนมักเป็นโรคเรื้อรัง โปรแกรมการรักษาจึงไม่ได้มีเพียงแค่การตรวจวินิจฉัยตอนกลางคืน แต่ยังมีการตรวจวินิจฉัยในตอนกลางวันด้วย
- ให้ความสำคัญกับการใช้เครื่อง CPAP (เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก) ของผู้เข้ารับการรักษา ไม่เพียงแค่สอนให้ใช้เป็น แต่ต้องสามารถใช้อย่างต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่อยู่โรงพยาบาล จนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ
- ห้องตรวจการนอนหลับที่มาพร้อมบรรยากาศผ่อนคลาย ให้ผู้เข้ารับการตรวจคุณภาพการนอน เหมือนได้มาพักผ่อนมากกว่ารับการรักษา มีห้องน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกเสมือนพักผ่อนที่บ้าน และมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
- มีทันตอุปกรณ์ลดการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ (OPTISLEEP) ทันตอุปกรณ์เฉพาะบุคคล ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบ และผลิตชิ้นงานในประเทศเยอรมัน วัสดุบางใส แข็งแรง ใส่สบาย เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ เพื่อลดอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
โรคและภาวะผิดปกติ
- การนอนกัดฟัน Bruxism
- ความผิดปกติด้านการหายใจที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ
- ตะคริวที่ขาเวลากลางคืน
- ภาวะกรีดร้องขณะนอนหลับ
- ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- ภาวะความผิดปกติด้านการนอนที่เกิดจากการทำงานนอกเวลาปกติ
- ภาวะง่วงนอนในเวลาที่ช้าผิดปกติ
- ภาวะง่วงนอนเร็วผิดปกติ
- ภาวะเจ็ทแล็ก
- ภาวะนอนกรน
- ภาวะนอนละเมอ
- ภาวะนอนละเมอในช่วง REM
- ภาวะนอนละเมอพูด
- ภาวะผิดปกติด้านการนอนหลับ
- ภาวะฝันร้ายผิดปกติ
- ภาวะลมชักขณะหลับ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากความผิดปกติของสมองส่วนกลาง
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับประเภทผสม
- โรคการนอนไม่หลับจากวงจรหลับตื่น 24 ชั่วโมงผิดปกติ
- โรคง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน
- โรคทางระบบประสาท MSA
- โรคนอนไม่หลับ
- โรคภาวะขากระตุกขณะหลับ
- โรคลมหลับ
- โรคอ้วนจนหายใจติดขัด
- อาการกระตุกเมื่อเริ่มหลับ
- อาการขาอยู่ไม่สุข
- อาการนอนไม่พอ
- อาการนอนละเมอเดิน
- อาการปวดปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
บริการตรวจวินิจฉัยและหัตถการ
- การตรวจการตื่นตัว
- การตรวจการนอนหลับด้วย Actigraphy Watch
- การตรวจการนอนหลับโดยรวม
- การตรวจการนอนหลับที่บ้านผู้ป่วย
- การตรวจวัดออกซิเจนทั้งคืนขณะนอนหลับ
- การตรวจวิเคราะห์ความง่วงนอนผิดปกติ
- การบำบัดด้วยอากาศแรงดันบวก
- การประเมินเพื่อบำบัดอาการกระตุกด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทช่วยการหายใจขณะนอนหลับ
ความชำนาญพิเศษ
การรักษาโรคนอนไม่หลับแบบบูรณาการ
- ดูแล ให้บริการ และทำการตรวจวินิจฉัยทุกภาวะผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ทั้งกลุ่มอาการที่เกิดตอนกลางคืน และกลุ่มอาการที่เกิดในตอนกลางวัน
- ทำการรักษาแบบองค์รวม ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับโดยเฉพาะ เช่นจิตแพทย์ กุมารแพทย์ เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับ เป็นต้น
- ให้คำแนะนำ และข้อมูลในการดูแลตัวเองหลังการรักษาอย่างละเอียด เพราะโรคเกี่ยวกับการนอนเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องทำการรักษาเป็นระยะเวลานาน