โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม
โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ การเชื่อมต่ออย่างผิดปกตินี้ก่อให้เกิดการรบกวนการไหลเวียนของเลือด และการไหลเวียนของออกซิเจน ทั้งนี้หลอดเลือดแดงทำหน้าที่ส่งออกซิเจนไปยังสมองและหัวใจ ในขณะที่หลอดเลือดดำส่งออกซิเจนไปยังปอดและหัวใจ ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะดังกล่าวอาจทำให้เนื้อเยื่อรอบข้างขาดออกซิเจนได้ โดยเฉพาะปอด หัวใจและสมอง การขาดออกซิเจนอาจส่งผลให้เกิดเลือดออกในสมอง โรคหลอดเลือดสมองหรือความเสียหายของสมอง ความผิดปกติของหลอดเลือดแดงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย แต่มักพบในสมองหรือกระดูกสันหลัง แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของภาวะนี้ แต่ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มในสมอง สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้โดยการรักษาบางอย่าง
อาการโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม
สัญญาณและอาการของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาการที่สามารถพบได้หลังจากเลือดออกอาจรวมถึง
- เลือดออก
- ปวดหัว
- คลื่นไส้อาเจียน
- ชัก
- การสูญเสียสติสัมปชัญญะ
- การสูญเสียการทำงานของระบบประสาท
คนไข้โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มอาจมีมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
- เวียนหัว
- กล้ามเนื้ออ่อนแแรง
- อวัยวะส่วนล่างอ่อนแรง เช่น เท้าและขา
- ปวดหลัง
- ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น การเคลื่อนไหวของดวงตาที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเส้นประสาทตาบวม
- อาการชา เหน็บหรือปวดกะทันหัน
- อาการสับสน
- สูญเสียความทรงจำ
- ความพิการทางสมองหรือปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือความเข้าใจภาษา
- ความผิดปกติของทักษะทางระบบสั่งการ
- ภาพหลอน
- ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมในผู้ป่วยเด็กหรือวัยรุ่น
โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มที่เกิดขึ้นไม่นานหลังคลอดเรียกว่าหลอดเลือดดำของกาเลนบกพร่อง โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติประเภทนี้อยู่ลึกเข้าไปในสมองและอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำหรือการเพิ่มขึ้นของของเหลวในสมองที่ทำให้เกิดการขยายตัวของศีรษะ
- เส้นเลือดบวมบนหนังศีรษะ
- ชัก
- การเจริญเติบโตช้า
- หัวใจล้มเหลว
เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์
ไม่ควรมองข้ามอาการปวดหัวเวียนศีรษะ ปัญหาการมองเห็น หรือการเปลี่ยนแปลงของความรู้ความเข้าใจหรือการทำงานของระบบประสาท ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังกล่าวหรืออาการใดใดที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มปรากฏขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม
พบว่าอาจมีความสัมพันธ์ระหว่างกรรมพันธุ์และโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม ความเสี่ยงของโรคมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีความเกี่ยวพันกับโรคนี้
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของระบบประสาทอย่างร้ายแรงหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม
แพทย์อาจเริ่มการวินิจฉัยด้วยการฟังเสียงผิดปกติที่ฟังได้ที่หลอดเลือดหรือหัวใจ แพทย์อาจอาศัยวิธีการทดสอบหลายอย่างซึ่งอาจรวมถึง
- การตรวจหลอดเลือดสมอง เพื่อตรวจสอบโครงสร้างของหลอดเลือด
- การทำซีทีสแกน เพื่อหาอาการเลือดออกที่ศีรษะ สมอง หรือไขสันหลัง
- เอ็มอาร์ไอ เพื่อแสดงภาพรายละเอียดของเนื้อเยื่อ
- MRA เพื่อตรวจสอบความเร็ว รูปแบบ และระยะทางของการไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือด
- การตรวจเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
เพื่อจัดหมวดหมู่ของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มและตรวจสอบภาวะเลือดออก
การรักษา
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มแตกต่างกันไปตามขนาดและตำแหน่งของความผิดปกติ การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยา การผ่าตัด และการติดตามผล
- การใช้ยา
จุดมุ่งหมายของการใช้ยาคือการจัดการกับอาการของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม รวมถึงอาการชัก ปวดศีรษะ และปวดหลัง - การผ่าตัด
แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตกเลือดและเลือดออก การผ่าตัดอาจรวมถึงการนำหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติออกทั้งหมด อย่างไรก็ตามขั้นตอนนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมองได้ ทั้งนี้การผ่าตัดชนิดอื่น ๆ อาจรวมถึง การอุดเส้นเลือด (Endovascular embolization) และการผ่าตัดด้วยคลื่นเสียงสเตอริโอ (Stereotactic radiosurgery) - การติดตามอาการ
เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและป้องกันการเกิดซ้ำของโรค คนไข้จะต้องได้รับการติดตามอาการกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยแพทย์อาจทำการทดสอบบางประเภทพื่อตรวจสอบโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม
การเตรียมการก่อนการพบแพทย์
ก่อนการพบแพทย์คุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น
- จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้น
- รายการยาที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
- ระวังข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย
- เตรียมคำถามที่ต้องการถามแพทย์
ในระหว่างการปรึกษาแพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น
- จุดเริ่มต้นของอาการของคุณ
- อาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
- ความรุนแรงของอาการ
- สิ่งที่อาจทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง