เลือกหัวข้อที่อ่าน
- ต่อมลูกหมากโต มีอาการอย่างไร?
- โรคต่อมลูกหมากโต มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
- ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต
- ต่อมลูกหมากโต มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?
- โรคต่อมลูกหมากโต มีวิธีการรักษาอย่างไร?
โรคต่อมลูกหมากโต
โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ เป็นอาการที่มักเกิดในเพศชายเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยก่อให้เกิดอาการ เช่น ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่สุด ซึ่งอาจนำไปสู่โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคไต
ปัจจุบันมีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตที่มีประสิทธิภาพหลายหลายวิธี ซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดแบบรุกล้ำน้อยหรือแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ทั้งนี้แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วยถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยประเมินจากอาการ ขนาดของต่อมลูกหมาก และสุขภาพร่างกายของตัวผู้ป่วยเอง และวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยต้องการ
ต่อมลูกหมากโต มีอาการอย่างไร?
ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ อาการมักจะแย่ลงเรื่อย ๆ โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ปัสสาวะบ่อย
- ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย
- ปัสสาวะออกช้า
- ปัสสาวะไหลอ่อน หรือปัสสาวะขาดหรือสะดุดเป็นช่วง ๆ
- ปัสสาวะเล็ดหลังปัสสาวะเสร็จ
- ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะออกยากต้องเบ่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอื่น ๆ ที่อาจพบเห็นได้ด้วยเช่นกัน
- ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีอาการปวดแสบปวดร้อน
- ปัสสาวะปนเลือด หรือ มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
อย่างไรก็ตามขนาดของต่อมลูกหมากไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายที่ต่อมลูกหมากโตเพียงเล็กน้อยอาจมีอาการรุนแรงได้ ในขณะที่บางรายที่มีต่อมลูกหมากโตมากอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายอาการอาจทรงตัวและดีขึ้นได้เอง
ต่อมลูกหมากโต ควรพบแพทย์เมื่อไร?
ควรไปปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาเรื่องการปัสสาวะหรือมีอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงก็ตาม ทั้งนี้โรคต่อมลูกหมากโตทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตันได้ หากปัสสาวะไม่ออกควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
โรคต่อมลูกหมากโต มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
ต่อมลูกหมากอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของเพศชาย โดยจะมีท่อลําเลียงปัสสาวะอยู่กลางต่อมลูกหมาก เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นอาจไปเบียดท่อจนทำให้ปัสสาวะไหลออกมาไม่ได้ ทั้งนี้ต่อมลูกหมากสามารถโตขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะไม่ออก
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสาเหตุหลักของโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร แต่เชื่อกันว่าสาเหตุเบื้องต้นน่าจะมาจากภาวะฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล
โรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการของโรคต่อมลูกหมากโต ได้แก่
- การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
- ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)
- แผลเป็นพังผืดในคอกระเพาะปัสสาวะที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดก่อนหน้า
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งต่อมลูกหมากหรือกระเพาะปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต
ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต ได้แก่
- อายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 มักมีอาการของภาวะต่อมลูกหมากโตน้อยกว่าผู้ป่วยวัยอื่น ผู้ป่วยราวหนึ่งในสามอาจมีอาการปานกลางถึงรุนแรงก่อนวัย 60 และอีกที่เหลือจะมีอาการรุนแรงในช่วงก่อนวัย 80
- ใช้สมุนไพรบางอย่าง: ผู้ป่วยอาจใช้สมุนไพรบางอย่างในการเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย และกำลังอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยวิธีการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้อาจให้ลูกหมากโตได้
- เป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า โรคเบาหวาน โรคหัวใจและการใช้เบต้าบล็อกเกอร์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต
- ติดเชื้อในลูกหมาก: ผู้ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) ที่อาจทำให้ลูกหมากบวมช้ำและเป็นผลให้เกิดต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโต มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?
แพทย์อาจเริ่มด้วยการซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย แพทย์อาจใช้การตรวจร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น:
- การซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย
- การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE) แพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อดูว่าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีความผิดปกติ และมีลักษณะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
- การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) แพทย์อาจใช้การการตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อหรือมีโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโตหรือไม่
- การตรวจเลือด ผลจากการตรวจเลือดทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีปัญหาโรคไตหรือไม่
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA) แพทย์จะตรวจหาสารแอนติเจนต่อมลูกหมากที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก หากพบระดับของสารแอนติเจนต่อมลูกหมากเพียงเล็กน้อยแต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยกำลังเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ระดับสารแอนติเจนต่อมลูกหมากในปริมาณที่มากกว่า 4 ng/ml อาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อ เคยเข้ารับการผ่าตัด หรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่แล้ว
แพทย์อาจแนะนําให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโตและตัดโรคอื่น ๆ ออก เพราะโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากอาจทำให้เกิดอาการที่คล้าย ๆ กัน โดยจะทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- การตรวจการไหลของปัสสาวะ (Urinary Flow Test) เป็นการตรวจวัดความแรงและปริมาณของปัสสาวะ ผลจากการตรวจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
- การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ (Post-Void Residual Urine Test: PVR) การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ดูว่าผู้ป่วยปัสสาวะสุดหรือไม่ โดยผ่านการทำอัลตราซาวนด์หรือใช้วิธีใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะหลังปัสสาวะแล้ว เพื่อวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
- บันทึกการปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง วิธีนี้เป็นการจดบันทึกความถี่และปริมาณของปัสสาวะที่อาจเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่การปัสสาวะในตอนกลางคืนมีปริมาณมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณการปัสสาวะต่อวัน
หากอาการซับซ้อนมากขึ้น แพทย์อาจแนะนํา
- การตรวจความเร็วการไหลของการปัสสาวะ (Uroflowmetry): แพทย์จะให้ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะผ่านห้องน้ำแบบพิเศษที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหารูปแบบการปัสสาวะที่ผิดปกติ
- การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ (Post-Void Residual Urine Test: PVR) การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่าผู้ป่วยปัสสาวะได้หมดหรือไม่ โดยการทำอัลตราซาวนด์หรือใช้วิธีใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะหลังจากปัสสาวะเสร็จแล้วเพื่อวัดปริมาณปัสสาวะที่คงเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
- บันทึกการปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง การจดบันทึกความถี่และปริมาณปัสสาวะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปริมาณปัสสาวะในตอนกลางคืนนั้นมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณปัสสาวะรวมทั้งวัน
หากผู้ป่วยมีอาการซับซ้อนมากขึ้น แพทย์อาจแนะนําให้รับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
- การตรวจความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry): เพื่อตรวจอัตราการไหลของปัสสาวะ
- การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound): เป็นการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ โดยใส่อุปกรณ์ตรวจเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจวินิจฉัยต่อมลูกหมาก
- การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy): เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตว่าเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากหรือสาเหตุอื่น ๆ
- การวิเคราะห์แบบบยูโรไดนามิกและตรวจความสัมพันธ์ของแรงดัน (Urodynamic and pressure flow study) แพทย์จะใส่สายสวนเป็นเกลียวผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วฉีดน้ำหรืออากาศเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นแพทย์จะวัดความดันกระเพาะปัสสาวะและตรวจว่ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยังทํางานเป็นปกติดีหรือไม่ วิธีนี้มักจะใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและในผู้เข้ารับการรักษาต่อมลูกหมากมาก่อนและยังมีอาการอยู่
- การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy): แพทย์จะสอดกล่องเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อช่วยให้แพทย์ได้เห็นภาพภายในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น ในการตรวจนี้ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ก่อนเริ่มการตรวจ
โรคต่อมลูกหมากโต มีวิธีการรักษาอย่างไร?
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตอาจทำได้ด้วยการรับประทานยาหรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
- ขนาดของต่อมลูกหมาก
- อายุของผู้ป่วย
- สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
- ความรุนแรงของโรค
การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยยา
- ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha blockers) ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ ได้แก่ ยาอัลฟูโซซิน (alfuzosin) ยาโดซาโซซิน (doxazosin) ยาแทมซูโลซิน (tamsulosin) และยาซิโลโดซิน (silodosin) ออกฤทธิ์ได้ดีในผู้ป่วยที่ขนาดต่อมลูกหมากค่อนข้างเล็ก โดยการรับประทานยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะหรือมีภาวะอุสจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่เป็นอันตราย
- 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์ (5 Alpha Reductase Inhibitor) ยากลุ่มนี้จะทำให้ต่อมลูกหมากหดตัว โดยจะไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทําให้ต่อมลูกหมากโต ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยาฟินาสเตอไรด์ (finasteride) และยาดูตาสเตอไรด์ (dutasteride) ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 6 เดือนจึงจะเห็นผล ผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง
- การใช้ยาหลาย ๆ ชนิดร่วมกัน แพทย์อาจแนะนําให้รับประทานยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ และ 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์พร้อมกัน หากการรักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งไม่ได้ผล
การรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในกรณีที่
- อาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
- การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
- ผู้ป่วยมีภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ มีเลือดในปัสสาวะ หรือโรคไต
แพทย์อาจไม่แนะนำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในกรณีที่
- ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่ไม่ได้รับการรักษา
- เป็นโรคท่อปัสสาวะตีบอยู่แล้ว
- มีโรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โดยการรักษาต่อมลูกหมากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังต่อไปนี้
- ภาวะอุสจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
- ปัสสาวะเล็ด
- ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- มีเลือดออกในปัสสาวะ
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก แต่จะเกิดขึ้นน้อยหากรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์
การรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องประเภทต่าง ๆ
- การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้แพทย์จะสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย และตัดเอาเนื้อเยื่อด้านในต่อมลูกหมากออก ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็วและผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถปัสสาวะได้แรงทันทีหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกแล้ว ผู้ป่วยจะยังต้องสายสวนท่อปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกเป็นการชั่วคราว
- การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขยายท่อปัสสาวะ (TUIP) หลังทำการสอดกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย แพทย์จะกรีดต่อมลูกหมากเป็นรอยเล็ก ๆ 1-2 รอย ทําให้ปัสสาวะไหลออกได้ดีขึ้น
- การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟ (TUMT) แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะและสอดขั้วไฟฟ้าพิเศษผ่านท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเข้าไปในต่อมลูกหมาก จากนั้นจะปล่อยพลังงานไมโครเวฟจากขั้วไฟฟ้าเข้าทำให้ด้านในของต่อมลูกหมากที่โตหดตัวลงและทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้น การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟอาจช่วยบรรเทาอาการบางส่วนเท่านั้น และอาจใช้เวลาสักพักถึงจะเห็นผล ทั้งนี้การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น และผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องกลับมารักษาอีกครั้ง
- การผ่าตัดส่องกล้องด้วยเข็ม (TUNA) แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปทางท่อปัสสาวะแล้วสอดเข็มเข้าไปในต่อมลูกหมาก จากนั้นแพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุไปที่เข็ม ความร้อนจากคลื่นวิทยุจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมากที่อุดกั้นปัสสาวะ ในปัจจุบันการผ่าตัดวิธีนี้มักไม่ค่อยเป็นที่ไม่นิยม
- การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser Therapy) การรักษาด้วยเลเซอร์เป็นการรักษาที่ใช้เลเซอร์พลังงานสูงเพื่อทําลายหรือตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่โตเกินออกไป โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยเลเซอร์มักรักษาอาการได้ทันทีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัดแบบไม่ใช้เลเซอร์ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดและไม่สามารถรับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ต้องการนอนโรงพยาบาลหรือใส่สายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน
การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์
การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์ สามารถทำได้โดย
-
- การสลายเนื้อเยื่อ (Ablative Procedure)จะสลายเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่อุดตันเพื่อทำให้ปัสสาวะไหลได้ให้มากขึ้น โดยวิธีนี้ทำให้เลือดออกน้อยและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดส่องกล้องทั่วไป
- การเลาะเนื้อเยื่อออกทั้งหมด (Enucleation procedures) เป็นการใช้เลเซอร์เลาะเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกทั้งหมด ทำให้ปัสสาวะไหลได้ดีขึ้นและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ แพทย์จะส่งตรวจเนื้อเยื่อที่เลาะออกมาเพื่อตรวจหาเชื้อมะเร็งต่อมลูกหมากหรือโรคอื่น ๆ
การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (PUL)
ในการรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษกดบีบด้านข้างของต่อมลูกหมากเพื่อเพิ่มการไหลของปัสสาวะ และแพทย์มักแนะนำวิธีนี้หากผู้ป่วยมีกลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง นอกจากนี้ การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะอาจใช้กับผู้ป่วยบางกรณีที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและปัญหาการหลั่ง เนื่องจากการย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะมีผลต่อการหลั่งและสมรรถภาพทางเพศต่ำกว่าการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมากออกอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจยังต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างอีกในอนาคต
- การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (PUL) ในการรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษกดบีบด้านข้างของต่อมลูกหมากเพื่อให้ปัสสาวะไหลได้ดีขึ้น และแพทย์มักแนะนำวิธีนี้ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบส่องกล้องในอนาคตหากกลับมาเป็นซ้ำ
- การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย เป็นการผ่าตัดแบบเปิดที่ช่องท้องส่วนล่างไปยังต่อมลูกหมากเพื่อตัดเอาเนื้อเยื่อออก เหมาะกับผู้ที่ต่อมลูกหมากโตมากจนทำให้กระเพาะปัสสาวะได้รับความเสียหายหรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ