Broken Heart Syndrome Banner.jpg

ภาวะหัวใจสลาย (กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน สัมพันธ์กับภาวะเครียดอย่างรุนแรง บางครั้งเรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด (Stress Cardiomyopathy)

แชร์

ภาวะหัวใจสลาย คือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงเฉียบพลัน สัมพันธ์กับภาวะเครียดอย่างรุนแรง บางครั้งเรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด (Stress Cardiomyopathy) หรือในทางการแพทย์รู้จักในชื่อ Takotsubo Cardiomyopathy โดย Takotsubo เป็นภาชนะที่ชาวญี่ปุ่นใช้จับปลาหมึก เนื่องจากเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (บางส่วน) เมื่อทำการตรวจสวนหัวใจและฉีดสารทึบแสง จะได้ภาพหัวใจที่โป่งคล้ายภาชนะดังกล่าว จึงใช้ชื่อนี้เรียกภาวะความผิดปกตินี้ตั้งแต่ปี 1990 (พ.ศ. 2533)

สาเหตุ
สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่ทราบชัดเจนแต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่างๆจากความเครียดรุนแรง เช่น อะดรีนาลีน เพิ่มความต้องการพลังงานและออกซิเจนสูงแต่การไหลเวียนเลือดมาไม่เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โป่งพอง การสูบฉีดเลือดในร่างกายล้มเหลว ภาวะเครียด อาจเป็นภาวะเครียดทางร่างกาย เช่น เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุรุนแรง หรือเป็นภาวะเครียดรุนแรงทางจิตใจ เช่น สูญเสียคนรักอย่างคาดไม่ถึง แม้จะเรียกชื่อเป็น Broken Heart Syndrome แต่พบภาวะนี้สัมพันธ์กับความเครียดจากร่างกายมากกว่าความเครียดทางจิตใจ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

อาการ
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ เนื่องจากมีภาวะหัวใจล้มเหลว เลือดไหลเวียนไม่พอ บวม นอนราบไม่ได้ ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะหากมีความเจ็บป่วยร่างกายอื่นที่รุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย
นอกจากประวัติและการตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้วผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจพิเศษทางหัวใจโดยเฉพาะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์หัวใจและปอด คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในภาวะหัวใจสลายมักมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลเลือดเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติคล้ายผู้ป่วยจากโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน (Heart attack) การวินิจฉัยแยกโรคมักต้องใช้การตรวจสวนหัวใจและฉีดสารทึบแสงดูเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งในภาวะหัวใจสลายจะไม่พบเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

การรักษา
เนื่องจากไม่ได้มีเส้นเลือดหัวใจอุดตันจึงไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการขยายเส้นเลือดหัวใจเหมือนกรณีโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน (Heart attack) การรักษาจึงเป็นการรักษาด้วยยา ประคับประคอง รักษาระดับความดัน ชีพจร ระดับออกซิเจนให้เหมาะสมเพียงพอและรักษาความผิดปกติทางร่างกายที่เป็นสาเหตุกระตุ้นภาวะเครียดรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่กล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอ จะค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้นและกลับมาปกติได้ใน 4-8 สัปดาห์

แพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาในการรักษาเพื่อลดความตึงเครียดในการทำงานของหัวใจและป้องกันการเกิดภาวะอื่นๆในอนาคต เช่น การใช้ยาลดความดันโลหิตสูง (ประเภท ACE) หรือ (ARBs) การใช้เบต้าบล็อกเกอร์ ยาขับปัสสาวะ หรือ ยาละลายลิ่มเลือดในกรณีที่พบว่าคนไข้มีลิ่มเลือดในหัวใจ

การรักษาด้วยการผ่าตัด
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจวาย เช่น การทำบอลลูน หรือการสอดขดลวด จะไม่สามารถช่วยในการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงได้ เนื่องจากการรักษาประเภทดังกล่าว จะมุ่งเน้นไปที่การแก้อาการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งไม่ใช่สาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์
คนไข้ควรเข้ารับการรักษาในทันที หรือให้บุคคลใกล้ชิดพาไปห้องฉุกเฉินโดยด่วนหากพบว่าตนเองมีอาการเจ็บหน้าอกโดยไร้สาเหตุ และที่สำคัญในการพบแพทย์ควรพาบุคคลในครอบครัวมาด้วย

ข้อมูลที่ควรเตรียมก่อนพบแพทย์

  • อาการต่างๆที่มีในปัจจุบัน รวมถึงระยะเวลาที่มีอาการดังกล่าว
  • ข้อมูลส่วนตัว เช่น การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตหรือภาวะความเครียดในชีวิต เช่น การสูญเสียบุคคลที่รักหรือการตกงาน
  • ข้อมูลประวัติการรักษาของตนเองและบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะรวมถึงประวัติการรักษาโรคอื่นๆด้วย เช่น โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง หรือโรคหัวใจ
  • ยาที่คนไข้รับประทานในปัจจุบัน ทั้งยาโดยแพทย์สั่งและที่ซื้อตามร้านขายยาทั่วไป
  • อาการบาดเจ็บบริเวณหน้าอกในช่วงเวลาที่ผ่านมา ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายภายในร่างกาย เช่น กระดูกหักหรือเส้นประสาทถูกกดทับได้

แพทย์จะตรวจสอบอาการของคนไข้ตามผลจาก ECG และการตรวจเลือดเพื่อดูว่าอาการของคนไข้เกิดจากภาวะดังกล่าวหรืออาการหัวใจวาย

รายการคำถามที่อาจใช้ในการปรึกษาแพทย์ มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงมาจากอะไร
  • ในกรณีที่พึ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตในห้วงที่ผ่านมา สอบถามว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุในการเกิดภาวะนี้หรือไม่
  • ควรตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการใด
  • จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในหรือไม่
  • แนวทางที่ใช้ในการรักษา ต้องทำอย่างไร
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงสามารถเกิดซ้ำได้หรือไม่
  • มีข้อห้ามหรือข้อละเว้นที่ควรปฏิบัติหรือไม่ เช่น การควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกาย

รายการคำถามที่แพทย์อาจสอบถามเพิ่มเติมในการรักษา
แพทย์อาจสอบถามข้อมูลคนไข้เพิ่มเติมดังนี้

  • คนไข้มีลักษณะอาการเป็นอย่างไรบ้าง
  • คนไข้เริ่มมีอาการตั้งแต่เมื่อไหร่
  • คนไข้มีอาการเจ็บปวดเพียงบริเวณเดียว หรืออาการเจ็บปวดแผ่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • คนไข้พบว่าอาการเจ็บที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับจังหวะการเต้นของหัวใจหรือไม่
  • คนไข้สามารถอธิบายลักษณะอาการเจ็บปวดที่มีได้อย่างไร
  • การออกกำลังกายทำให้อาการทรุดลงหรือไม่
  • คนไข้มีบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่

ในปัจจุบันคนไข้เข้ารับการรักษาโรคอะไรอยู่บ้าง หรือประวัติการรักษาในอดีตมีอะไรบ้าง

บทความโดย

  • นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางด้านการตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ

เผยแพร่เมื่อ: 21 ก.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    อายุรกรรมโรคหัวใจ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ