ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง (Chronic Pelvic Pain in Women) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง (Chronic Pelvic Pain in Women)

ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง (Chronic Pelvic Pain in Women) คืออาการปวดที่เกิดขึ้นติดต่อกันนาน 6 เดือน หรือมากกว่านั้น เป็นอาการปวดท้องระดับต่ำกว่าสะดือลงมา ผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังมี 4-16 % ที่รักษาได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง (Chronic Pelvic Pain in Women)

ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic Pelvic Pain in Women) คืออาการปวดที่เกิดขึ้นติดต่อกันนาน 6 เดือน หรือมากกว่านั้น เป็นอาการปวดท้องระดับต่ำกว่าสะดือลงมา ผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังมี 4-16 % ที่รักษาได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุที่ชัดเจนที่รักษาที่ต้นเหตุได้ หรืออาจหาสาเหตุไม่พบหรืออาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน อาการปวดไม่จําเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับการมีประจําเดือน อาจเกิดจากการที่ระบบประสาทส่วนกลางรับ แปลและตอบสนองต่อสัญญาณความเจ็บปวดที่มากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไวต่อความเจ็บปวดมากเกินปกติ

ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิงอาจเป็นผลมาจากสาเหตุหลาย ๆ ประการ เช่น ความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้อและกระดูก และความผิดปกติทั่วทั้งร่างกาย

สาเหตุอาการปวดท้องน้อยจากระบบสืบพันธุ์

พบได้ประมาณ 20% ของผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังมีอาการจากระบบสืบพันธุ์ ได้แก่

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
    เกิดขึ้นจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตนอกมดลูกหรือเซาะไปในกล้ามเนื้อมดลูกทำให้มดลูกทําให้มดลูกขยายตัวจนบวมโต ปวดประจำเดือน ประจําเดือนมามาก ถ้าเกิดที่รังไข่หรือตำแหน่งอื่นๆจะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งสามารถพบได้ที่ตำแหน่งใดๆในอุ้งเชิงกราน โดยบางรายที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจไม่มีอาการใด ๆ ในขณะที่บางรายอาจมีอาการปวดประจำเดือน ไม่สบายตัว ประจำเดือนมามาก หรือมีบุตรยาก
  • เนื้องอกมดลูก (เนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็ง)
    พบได้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้หญิง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่ ประมาณ 25% ของผู้หญิงที่มีเนื้องอกมดลูกมีอาการปวดท้องน้อย ประจําเดือนมามาก และมีบุตรยาก
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID)
    เกิดจากการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการติดเชื้อในช่องท้อง ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบทำให้มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและมีบุตรยาก

    สาเหตุอาการปวดท้องน้อยอื่น ๆ

    โดยสาเหตุเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการระคายเคืองในกล้ามเนื้อและเส้นประสาทในอุ้งเชิงกราน

    • โรคลำไส้แปรปรวน หรือโรคลำไส้อักเสบ พบได้บ่อยมาก มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย และปวดท้องเรื้อรัง
    • อาการปวดกระเพาะปัสสาวะและโรคกระเพาะปัสสาวะแบบไม่ติดเชื้อ (BPS/IC) หมายถึงอาการปวดกระเพาะปัสสาวะเรื้อรังโดยไม่มีการติดเชื้อ อาจทําให้ปัสสาวะบ่อยหรือรู้สึกปวดบ่อย ๆ
    • อาการปวดกล้ามเนื้อหน้าท้อง
    • อาการปวดที่เส้นประสาทในอุ้งเชิงกราน
    • ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกทำร้ายร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ผู้ที่เผชิญกับปัญหาในวัยเด็ก ความวิตกกังวล หรือมีประสบการณ์ตรวจภายในที่ไม่ดี หรือการมีภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้าก็อาจเกิดปวดท้องน้อยเรื้อรังได้

    ปวดท้องน้อยเรื้อรังในผู้หญิง มีอาการอย่างไร?

    • อาการทางระบบสืบพันธุ์
      • ปวดประจําเดือน
      • มีเลือดหรือตกขาวออกมาทางช่องคลอด
    • อาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ
      • รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย
    • อาการทางระบบทางเดินอาหาร
      • ท้องอืด
      • เลือดออกทางทวารหนัก
      • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
      • ท้องเสียหรือท้องผูก
    • อาการอื่น ๆ
      • มีไข้หนาวสั่น
      • ปวดสะโพกหรือขาหนีบ

    เมื่อมีอาการปวดท้องน้อย ควรพบแพทย์เมื่อใด?

    • หากมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์
    • หากอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการอื่นร่วมด้วย แนะนำไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษา

    โดยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้

    • ไม่สบายตัว ปวดท้องน้อย เจ็บแปลบฉับพลันรุนแรง
    • อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด
    • มีไข้
    • ไม่สามารถยืนตัวตรงได้

    การตรวจวินิจฉัยอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง เป็นอย่างไร?

    การระบุสาเหตุของอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังอาจทำได้ยากเนื่องจากสาเหตุของโรคนั้นมีได้หลายสาเหตุ

    • การซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์จะถามถึงปัญหาสุขภาพในอดีตและปัจจุบันของผู้ป่วย และตรวจบริเวณท้องน้อยและอุ้งเชิงกราน ร่วมกับการตรวจภายใน
    • กาตรวจในห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจการตั้งครรภ์ การตรวจสารคัดหลั่งในช่องคลอดเพื่อตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจปัสสาวะ และอาจตรวจเลือดอื่น ๆ เพิ่มเติม
    • การอัลตราซาวด์ตรวจอุ้งเชิงกรานสามารถช่วยตรวจหาความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน ได้แก่ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในรังไข่และเนื้องอกในมดลูก
    • การส่องกล้องตรวจช่องท้องและอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy) ช่วยทั้งวินิจฉัยและรักษา เพื่อตรวจหาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ พังผืดในอุ้งเชิงกราน อย่างไรก็ตามแนะนำส่องกล้องเฉพาะกรณีที่ตรวจ ไม่พบสาเหตุ หรือรักษาแล้วไม่หาย
    • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง เพื่อตรวจลําไส้ใหญ่และทวารหนัก
    • การตรวจวินิจฉัยช่องท้องและอุ้งเชิงกรานด้วยเครื่องเอกซเรย์หรือครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)

    การรักษาอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีกี่วิธี และวิธีอะไรบ้าง?

    การรักษาอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง มี 6 วิธี เมื่อระบุสาเหตุของอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังได้แล้ว แพทย์จะเริ่มทำการรักษาตามสาเหตุของโรค หากไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาเพื่อลดความเจ็บปวด

    • ยาแก้ปวด เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาพาราเซตามอล ยาต้านเศร้า ยากันชัก หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
    • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อในช่องท้อง หลังส่วนล่าง สะโพก และต้นขาตึง และช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังหรือปวดอุ้งเชิงกราน
    • การฝังเข็ม
    • การฝึกขับถ่าย (Biofeedback) และเทคนิคการผ่อนคลาย
    • การกระตุ้นเส้นประสาท
    • การใช้ยาชาเฉพาะที่ในบริเวณที่ปวด

    การดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน เมื่อมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง

    • รับประทานยาแก้ปวด
    • ประคบอุ่น
    • ฝึกเทคนิคผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดและอาการปวด
    • เลิกสูบบุหรี่ การใช้ยาสูบอาจทําให้เกิดอาการปวดและเส้นประสาทอักเสบ
    • การออกกําลังกายช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและบรรเทาอาการปวด

    อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม

    Chronic Pelvic Pain in Women - Infographic TH
    Chronic Pelvic Pain in Women

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 25 เม.ย. 2023

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    General Surgery, Minimally Invasive Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย   เรืองแก้วมณี

    นพ. ศุภชัย เรืองแก้วมณี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. ดำรง ตรีสุโกศล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Endoscopy, Minimally Invasive Surgery, Sexual Medicine
  • Link to doctor
    พญ. สุจารี พิมลพันธุ์

    พญ. สุจารี พิมลพันธุ์

    • ศัลยศาสตร์
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Pathology, Gynecologic Cytology, Cervical Cytology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช