เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+ คืออะไร
- ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+ทำงานอย่างไร
- ทำไมถึงต้องใช้ตู้ EmbryoScope+ในการคัดเลือกตัวอ่อน
- เปรียบเทียบตู้เพาะเลี้ยงแบบเดิมกับตู้เพาะเลี้ยง EmbryoScope+
- เกิดอะไรขึ้นภายในตู้ EmbryoScope+
- ตู้ EmbryoScope+เหมาะกับใคร
- ประโยชน์ของตู้ EmbryoScope+
ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+ คืออะไร
ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+ ถือเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้ว นวัตกรรมตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+เลียนแบบสภาพทางสรีรวิทยาภายในครรภ์ของมารดา และช่วยให้แพทย์สามารถติดตามการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนได้อย่างใกล้ชิด โดยภายในตู้ EmbryoScope+จะติดตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพตัวอ่อนได้อย่างต่อเนื่อง แสดงผลเป็นวิดีโอแบบเร่งความเร็ว (time-lapse) ทำให้ติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนได้ในทุกช่วงเวลาที่สำคัญ
ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+ทำงานอย่างไร
หลังการปฏิสนธิด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เช่น IVF หรือ ICSI ตัวอ่อนจะถูกนำไปเลี้ยงภายในตู้เพาะเลี้ยงเพื่อความปลอดภัยและมีพัฒนาการอย่างเหมาะสมตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope+เป็นตู้เพาะเลี้ยงพิเศษที่ใช้ในห้องปฏิบัติการของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เพื่อให้ตัวอ่อนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โดยตู้ EmbryoScope+จะมีกล้องถ่ายภาพติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนประเมินตัวอ่อนได้ทันที ไม่จำเป็นต้องนำตัวอ่อนออกมาตรวจนอกตู้ นวัตกรรมนี้ช่วยให้การคัดเลือกตัวอ่อนมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรง เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้สำเร็จ
ทำไมถึงต้องใช้ตู้ EmbryoScope+ในการคัดเลือกตัวอ่อน
ความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วในปัจจุบันต้องเผชิญความท้าทายในการระบุและเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรง เหมาะกับการย้ายกลับเข้าไปในครรภ์การคัดเลือกตัวอ่อนแบบเดิมนั้น จะอาศัยการดูรูปร่างของตัวอ่อนเป็นหลัก แต่ไม่ได้นำพัฒนาการของตัวอ่อนมาพิจารณา ตู้ EmbryoScope+ช่วยให้แพทย์สามารถติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนได้อย่างต่อเนื่องและวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ตลอดการพัฒนา ช่วยให้การคัดเลือกตัวอ่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และแนวโน้มการฝังตัวของตัวอ่อนในครรภ์มารดามีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
เปรียบเทียบตู้เพาะเลี้ยงแบบเดิมกับตู้เพาะเลี้ยง EmbryoScope+
ตู้เพาะเลี้ยงแบบเดิม | ตู้เพาะเลี้ยง EmbryoScope+ |
ตรวจตัวอ่อนเมื่อตัวอ่อนมีอายุครบ 16-18 ชั่วโมง อายุครบ 65-68 ชั่วโมง และอายุครบ 5 วันเท่านั้น ทำให้เก็บข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน | ถ่ายภาพติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนทุก 5-10 นาที ทำให้พบตัวแปรที่สำคัญหรือข้อบกพร่องของตัวอ่อนได้ทันที |
ต้องนำตัวอ่อนออกมาตรวจนอกตู้ ซึ่งอาจจะรบกวนพัฒนาการของตัวอ่อน | ตรวจตัวอ่อนขณะที่ตัวอ่อนอยู่ภายในตู้ได้ทันที ลดการสัมผัสกับอุณหภูมินอกตู้ ไม่รบกวนพัฒนาการของตัวอ่อน ใช้ AI technology ช่วยให้คะแนนและคัดเลือกตัวอ่อน |
การใช้ตู้ EmbryoScope+ช่วยให้ความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วสูงขึ้นถึง 75% และลดโอกาสในการแท้งบุตรลง 8-10%.
เกิดอะไรขึ้นภายในตู้ EmbryoScope+
ตัวอ่อนจะถูกประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด การตรวจประเมินตัวอ่อนบ่อยครั้งทำให้สามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้คะแนนตัวอ่อนได้ โดยตัวอ่อนที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นตัวอ่อนที่มีความพร้อม เหมาะสมสำหรับการย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูก
เวลาและระยะเวลาที่เกิดการแบ่งตัวมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการตั้งครรภ์ หากการแบ่งตัว 2 เซลล์เกิดขึ้นภายใน 25-27 ชั่วโมงหลังการปฏิสนธิ อัตราความสำเร็จจะสูง
ตู้ EmbryoScope+มีความจุเท่าไร
ตู้ EmbryoScope+สามารถบรรจุไข่หรือตัวอ่อนได้มากถึง 240 ตัวอ่อนในเวลาเดียวกัน (ใน 1 ตู้จะมีจานเพาะตัวอ่อน 15 จาน และ 1 จานเพาะสามารถบรรจุจัวอ่อนได้ 16 ตัว)
ตู้ EmbryoScope+เหมาะกับใคร
ตู้ EmbryoScope+ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่คงที่ภายใต้การควบคุมที่เหมาะสมกับการพัฒนาของตัวอ่อน การทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวอ่อนที่ละเอียดมากขึ้นสามารถสร้างความแตกต่าง เพิ่มความสำเร็จของการตั้งครรภ์ให้กับหญิงที่แท้งบุตรบ่อยครั้ง หญิงที่อายุมาก หรือประสบปัญหาตัวอ่อนฝังตัวไม่สำเร็จ
ประโยชน์ของตู้ EmbryoScope+
- สภาพภายในตู้ EmbryoScope+นั้นคงที่ เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ช่วยให้ตัวอ่อนแบ่งตัวได้ดี
- นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนสามารถติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องนำตัวอ่อนออกมาตรวจนอกตู้ ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอ่อน
- ตู้ EmbryoScope+สามารถบันทึกพัฒนาการของตัวอ่อนได้นานถึง 7,200 นาที ขณะที่ตู้แบบเดิมนั้นมีการบันทึกเพียง 6-10 นาทีเท่านั้น ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนสามารถติดตามการแบ่งตัวของตัวอ่อนและได้รับข้อมูลสำคัญ ๆ มากขึ้น
- ข้อมูลที่ได้จากตู้ EmbryoScope+นั้นแม่นยำครบถ้วน มีการนำ AI technology มาใช้ร่วมด้วยทำให้สามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรง เพิ่มโอกาสในการฝังตัวและตั้งครรภ์