ภาวะวุ้นตาเสื่อม : อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและรักษา Eye Floaters

ภาวะวุ้นตาเสื่อม

มองเห็นเงาตะกอนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น อาจเป็นสัญญาณโรคแทรกซ้อนจากภาวะวุ้นตาเสื่อม

แชร์

ภาวะวุ้นตาเสื่อม

ภาวะวุ้นตาเสื่อม เกิดจากการที่น้ำวุ้นตาซึ่งเป็นของเหลวใสลักษณะคล้ายเจลที่อยู่ภายในโพรงลูกตา เริ่มมีการหดตัวและทึบแสงขึ้น จนเกิดเป็นตะกอนขนาดเล็กลอยไปลอยมาในดวงตา หากลอยไปยังโซนรับภาพของจอประสาทตา อาจทำให้ผู้ป่วยมองเห็นตะกอนดังกล่าวได้  วุ้นตาเสื่อมมักพบได้บ่อยในวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ โดยอาจเกิดขึ้นในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้

อาการของวุ้นตาเสื่อม

  • มองเห็นจุด หรือเส้น คล้ายลูกน้ำ หรือ หยากไย่ มักลอยไปมาตามการกลอกตา
  • มองเห็นตะกอนวุ้นตาชัดขึ้นเมื่อมองไปที่ผนังห้องสีสว่าง หรือท้องฟ้า
  • มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ หรือแสงแฟลชกล้องถ่ายรูป โดยเฉพาะในที่สลัวหรือที่มืด

วุ้นตาเสื่อมควรไปพบแพทย์เมื่อใด

ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • มองเห็นเงาตะกอนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น
  • มองเห็นแสงวาบ แสงแฟลช ม่านสีเทาที่ทำให้การมองเห็นลดลง
  • สูญเสียการมองเห็นด้านข้าง รู้สึกขอบเขตการมองเห็นแคบลง

โดยอาการข้างต้น อาจเป็นสัญญาณอันตรายจากโรคจอประสาทตาฉีกขาดหรือจอประสาทตาลอก ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญจากภาวะวุ้นตาเสื่อม หากรักษาล่าช้าอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ จึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจจอประสาทตาอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการคล้ายกับวุ้นตาเสื่อม

  • โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา มักพบในระยะรุนแรง เกิดเลือดออกในวุ้นตา
  • โรคม่านตาอักเสบ โรควุ้นตาอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงของวุ้นในตาเสื่อม

  • อายุที่มากขึ้น (ส่วนใหญ่เกิดในวัยกลางคนเป็นต้นไป)
  • ภาวะสายตาสั้น
  • โรคเบาหวาน
  • มีประวัติเคยผ่าตัดดวงตามาก่อน
  • อุบัติเหตุทางดวงตา

การตรวจวินิจฉัยวุ้นตาเสื่อม

แพทย์จะทำการตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ รวมถึงหยอดยาขยายม่านตา หรือส่งถ่ายภาพจอประสาทตา เพื่อประเมินจอประสาทตาอย่างละเอียด

การรักษาภาวะวุ้นตาเสื่อม

โดยส่วนใหญ่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาเนื่องจากไม่ได้ส่งผลอันตราย โดยสมองของเราจะค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับเงาดำหรือแสงวาบที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หากเงาตะกอนเริ่มส่งผลต่อการมองเห็น หรือการใช้ชีวิตประจำวัน

การรักษาที่มีในปัจจุบัน ได้แก่

  • การผ่าตัดระบบวุ้นตา/จอประสาทตาการผ่าตัดวุ้นตาเพื่อนำวุ้นตาออกและใส่สารละลายเข้าไปแทนที่เพื่อคงรูปของดวงตา อย่างไรก็ตามคงต้องประเมินประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด เช่น ต้อกระจก เลือดออกในวุ้นตา จอประสาทตาฉีกขาด การติดเชื้อหลังผ่าตัด
  • การกำจัดเงาตะกอนโดยการใช้เลเซอร์ เป็นการใช้เลเซอร์ชนิดพิเศษทำให้เงาตะกอนเกิดการระเหิดหรือแตกตัวเล็กลงอย่างมาก  ผู้ได้รับการรักษาบางรายมีการมองเห็นที่ดี่ขึ้น แต่บางรายยังไม่เห็นถึงความแตกต่าง การรักษาด้วยเลเซอร์มีความเสี่ยงที่อาจทำให้จอประสาทตาได้รับความเสียหายหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

โดยสรุป ถึงแม้ว่าโรควุ้นตาเสื่อมจะไม่หายไปตามกาลเวลา แต่มักไม่เป็นอันตราย โดยหากผู้ป่วยเริ่มเห็นเงาตะกอนหรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ควรไปพบแพทย์โดยทันที

การตรวจสุขภาพตาประจําปีสามารถช่วยให้ตรวจพบโรคที่เป็นอันตรายต่อการมองเห็นและได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ธ.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์

    นพ. ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    การผ่าตัดต้อกระจก, จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, ม่านตาอักเสบ, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก
  • Link to doctor
    นพ. อดิศัย วราดิศัย

    นพ. อดิศัย วราดิศัย

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาการผ่าตัดวุ้นน้ำตาและจอประสาทตา
    Ophthalmology, การผ่าตัดรักษาโรคทางจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา
  • Link to doctor
    นพ. อภิวัฒน์ มาวิจักขณ์

    นพ. อภิวัฒน์ มาวิจักขณ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, โรคจอประสาทตาในเด็ก
  • Link to doctor
    นพ. นันทชัย สุรวัติเสถียร

    นพ. นันทชัย สุรวัติเสถียร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาการผ่าตัดวุ้นน้ำตาและจอประสาทตา
    Ophthalmology, การผ่าตัดรักษาโรคทางจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, Vitreoretinal Surgery
  • Link to doctor
    นพ. กฤติเดช เดชะคุปต์

    นพ. กฤติเดช เดชะคุปต์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    ผ่าตัดจอประสาทตา, ต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก, โรคตาทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วิจักษณ์ คงวัฒนานนท์

    นพ. วิจักษณ์ คงวัฒนานนท์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา
  • Link to doctor
    นพ. ดิศรณ์ สุวจนกรณ์

    นพ. ดิศรณ์ สุวจนกรณ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    Ophthalmology, จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา