ใจสั่นอันตรายไหม อาการใจสั่นเกิดจากอะไร - Heart Palpitations: Symptoms, Causes and Treatment

อาการใจสั่น หัวใจเต็นเร็ว (Heart Palpitations)

ใจสั่น คือ อาการที่หัวใจเต้นแรงและรู้สึกว่าเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาจเกิดจากความรู้สึกวิตกกังวล การตั้งครรภ์ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาหารรสเผ็ด อาการใจสั่นเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะไม่อันตราย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


อาการใจสั่น (Heart Palpitations)

ใจสั่น หรือ อาการใจสั่น เป็นอาการที่หัวใจเต้นแรงและรู้สึกว่าเต้นไม่เป็นจังหวะ ซึ่งอาจเกิดจากความรู้สึกวิตกกังวล การตั้งครรภ์ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาหารรสเผ็ด อาการใจสั่นเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะไม่อันตราย อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการใจสั่นบ่อยหรือรุนแรงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม

ใจสั่น มีอาการอย่างไร

อาการใจสั่น คืออาการที่หัวใจเต้นสะดุด เต้นเร็ว แรง สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมถึงเวลาที่กำลังพักผ่อนหรือทำกิจวัตรประจำวัน แม้ว่าอาการใจสั่นจะไม่รุนแรงหรือเป็นอันตราย แต่บางกรณี อาการใจสั่นอาจมีสาเหตุมาจากการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

ใจสั่น มีอาการอย่างไร

อาการใจสั่นมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีอาการใจสั่น ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วแรง เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นสะดุด ผู้ที่มีอาการทางหัวใจและหลอดเลือดที่มีอาการใจสั่นนั้นอาจเกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการใจสั่นแบบไหนที่ควรพบแพทย์

อาการใจสั่นชั่วครั้งชั่วคราว ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนั้นไม่น่ากังวลใจ แต่ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือมีอาการใจสั่นซ้ำ ๆ จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาโรคหัวใจอื่น ๆ

หากมีอาการเวียนศีรษะรุนแรง เจ็บหน้าอก หายใจไม่ทัน หมดสติร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

ใจสั่น มีสาเหตุเกิดจากอะไร

อาการใจสั่นอาจเกิดขึ้นทั้งวันหรือเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในเวลากลางคืน โดยปัจจัยที่อาจทำให้รู้สึกใจสั่น ได้แก่

ใจสั่น มีสาเหตุเกิดจากอะไร - Heart Palpitations

ใจสั่น มีการตรวจวินิจฉัยอะไรบ้าง

ใจสั่น มีวิธีรักษาอย่างไร

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการใจสั่น ผู้ป่วยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่แล้วจำเป็นต้องรับประทานยา ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือเข้ารับการผ่าตัด

อาการใจสั่น มีวิธีป้องกันอย่างไร

  • ผู้ที่มีอาการใจสั่นจากความเครียด หรือ วิตกกังวล อาจฝึกโยคะ นั่งสมาธิ ฝึกไทเก๊ก การตอบสนองทางชีวะ (Biofeedback) เพื่อควบคุมร่างกายและจิตใจ
  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รักษาระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาแก้ไอ หรือยาแก้ไข้ หากจำเป็นต้องรับประทานควรปรึกษาแพทย์

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • จดอาการที่มี เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในชีวิต และยาที่รับประทาน
  • จดประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • จดคำถามที่ต้องการถามแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น
    • อะไรคือสาเหตุของอาการ
    • อาการจะเกิดซ้ำได้อีกหรือไม่
    • จำเป็นต้องทำเข้ารับการตรวจใด ๆ หรือไม่
    • มีวิธีการรักษาอะไรบ้าง วิธีใดที่แพทย์แนะนำ
    • จะจัดการกับโรคประจำตัวอย่างไร
    • มีข้อห้ามอะไรบ้างหรือไม่
  • เตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์อาจถาม ยกตัวอย่างเช่น
    • เริ่มรู้สึกว่าใจสั่นครั้งแรกเมื่อไร
    • มีอาการบ่อยหรือไม่ แต่ละครั้งนานเท่าไร
    • กำลังทำอะไรอยู่ตอนที่รู้สึกว่าใจสั่น
    • มีอาการเวลาเดิม ทุกวันหรือไม่
    • อาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่ 
    • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
    • เจ็บหน้าอก หายใจไม่ทัน เวียนศีรษะ หมดสติตอนที่มีอาการใจสั่นหรือไม่
    • เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมาก่อนหรือไม่

คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับอาการใจสั่น

  • จะเกิดอะไรขึ้นถ้ารู้สึกใจสั่น?
    ส่วนใหญ่อาการใจสั่นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ
  • อาการใจสั่น อันตรายหรือไม่?
    ส่วนใหญ่อาการใจสั่นไม่อันตราย แต่บางสาเหตุอาจอันตราย จึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม
  • อาการใจสั่น เป็นเรื่องปกติหรือไม่?
    ส่วนใหญ่เป็นการตอบสนองต่อความเครียดและความวิตกกังวล แต่อาจเกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดปกติซ้ำได้ จึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม
  • ก่อนไปพบแพทย์ ควรทำอย่างไร?
    หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้ใจสั่น เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด การรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือยาลดไข้
  • ใจสั่น เมื่อไรที่ควรกังวล?
    โดยปกติแล้วอาการใจสั่นไม่ใช่เรื่องรุนแรง แต่ถ้าหากใจสั่นบ่อย ๆ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ทัน เหงื่อออกมาก ควรรีบไปห้องฉุกเฉิน

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

อาการใจสั่นไม่อันตราย แต่ถ้ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ หมดสติ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง ควรปรึกษาแพทย์

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 14 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    นพ. กวิน ตังธนกานนท์

    นพ. กวิน ตังธนกานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    ไตวายเฉียบพลัน, โรคไตอักเสบ, การบําบัดทดแทนหน้าที่ไตโดยการฟอกเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลป้องกันไตเสื่อม, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, โรคและความผิดปกติทางไต, โรคไตจากเบาหวาน, การฟอกเลือดทางหน้าท้อง, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, ความผิดปกติของกระดูกจากโรคทางไต รวมทั้งกระดูกพรุน, โภชนบำบัดในโรคไต
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. นภิสวดี  ว่องชวณิชย์

    ผศ.พญ. นภิสวดี ว่องชวณิชย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    ไตวายเฉียบพลัน, การป้องกันและรักษาโรคไตด้วยโภชนบำบัด, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคไตอักเสบ, การบําบัดทดแทนหน้าที่ไตโดยการฟอกเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลป้องกันไตเสื่อม, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, โรคกระดูกต่าง ๆ ที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ รวมทั้งกระดูกพรุน
  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    • อายุรศาสตร์
    โรคเบาหวาน, อายุรกรรมทั่วไป, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคกระดูกพรุน, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง
  • Link to doctor
    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    อายุรกรรมโรคหัวใจ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    พญ. ณหทัย ฉัตรสิงห์

    พญ. ณหทัย ฉัตรสิงห์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    ศ.คลินิก นพ. เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์

    ศ.คลินิก นพ. เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์

    • ศัลยศาสตร์
    • การผ่าตัดโรคหัวใจและทรวงอก
    โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. เต็มดวง เชื้อหิรัญ

    พญ. เต็มดวง เชื้อหิรัญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    โรคความดันโลหิตสูง, การปลูกถ่ายไต, การบำบัดทดแทนไต