Ingrown Toenail 2.jpg

เล็บขบ (Ingrown toenail)

ควรเข้ารับการรักษาหากมีอาการระคายเคือง เจ็บ บริเวณเล็บนิ้วเท้า มีหนอง หรือเกิดการกระจายตัวของภาวะผิวหนังอักเสบ

แชร์

เล็บขบ (Ingrown toenail)

เล็บขบ เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยจะเกิดบริเวณมุมขอบเล็บเท้า หรือบริเวณด้านข้างเล็บเท้า ผู้ที่มีอาการเล็บขบจะมีความเจ็บปวด เกิดภาวะผิวหนังอักเสบ หรือบวมแดง รวมถึงอาจพบการติดเชื้อได้โดยอาการมักเกิดบริเวณนิ้วโป้ง

ส่วนใหญ่อาการเล็บขบมักสามารถทำการรักษาได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามหากพบว่าอาการมีการแพร่กระจาย หรือมีความเจ็บปวดบริเวณดังกล่าวมากขึ้น การพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะสามารถช่วยลดความเจ็บปวด และลดโอกาสการติดเชื้อได้

คนไข้จะมีความสุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะติดเชื้อมากขึ้นถ้าหากป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีอาการของโรคอื่นๆที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณเท้าผิดปกติ

อาการ

  • เกิดความเจ็บปวด
  • ผิวหนังเกิดความบอบบาง
  • ผิวหนังอักเสบ
  • เกิดอาการบวม
  • การติดเชื้อ

เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์

คนไข้ควรเข้ารับการรักษาหากมีอาการระคายเคือง เจ็บ บริเวณเล็บนิ้วเท้า มีหนอง หรือเกิดการกระจายตัวของภาวะผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีอาการอื่นๆที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณเท้าผิดปกติ รวมถึงคนไข้ที่มีอาการเจ็บเท้าหรือเท้าอักเสบควรเข้ารับการรักษาเช่นเดียวกัน

สาเหตุการเกิดเล็บขบ

  • การใส่รองเท้าที่ปิดกดทับบริเวณเล็บเท้า
  • การตัดเล็บนิ้วเท้าจนสั้นเกินไป
  • การเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณเล็บเท้า
  • การมีเล็บเท้าที่มีรูปร่างโค้งผิดปกติ
  • การติดเชื้อบริเวณเล็บ
  • อาการเจ็บป่วยอื่นๆ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเล็บขบมากขึ้น

  • การอยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว จะทำให้มีโอกาสในการเกิดเหงื่อออกบริเวณเท้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลทำให้เล็บเท้าและผิวหนังเกิดการเปื่อยยุ่ยได้
  • การตัดเล็บเท้าสั้นจนเกินไป หรือการตัดขอบมุมเล็บเท้าเป็นลักษณะโค้งเว้ามากเกินไป
  • ขาดการดูแลสุขอนามัยของเล็บเท้า
  • การใส่รองเท้าที่มีการกดทับบริเวณนิ้วเท้า
  • การทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการวิ่ง หรือการเตะ จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการบาดเจ็บนิ้วเท้าได้
  • โรคเบาหวาน หรืออาการโรคอื่นๆที่ส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณเท้าผิดปกติ

ภาวะแทรกซ้อน

การเกิดเล็บขบจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวจะมีภาวะการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติโดยสามารถส่งผลกระทบต่อการทำลายเส้นประสาทเท้าได้ ดังนั้นบุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน หากมีอาการบาดเจ็บบริเวณเท้าเพียงเล็กน้อย จากแผลถูกบาด ขูด หรืออื่นๆ จะพบว่าอาการไม่สามารถบรรเทาเองได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อ

การป้องกันการเกิดเล็บขบ

  • การตัดเล็บเท้าควรตัดให้เป็นแนวตรง หลีกเลี่ยงการตัดเป็นรูปแบบโค้งตามสัดส่วนรูปร่างของหัวนิ้วเท้า สำหรับคนไข้ที่มีภาวะการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ไม่สามารถทำการตัดเล็บได้ด้วยตนเอง ควรพบแพทย์รักษาเท้าเพื่อทำการตัดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
  • การไว้เล็บเท้าให้ยาวพอดี – ตัดเล็บนิ้วเท้าให้มีความยาวเท่ากัน และไม่สั้นจนเกินไป เนื่องจากการตัดเล็บเท้าที่สั้นเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดทับจากรองเท้ามายังบริเวณนิ้วเท้ามากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดติ่งเนื้อได้
  • ใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดี – การสวมรองเท้าที่แน่นจนเกินไป จะทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณนิ้วเท้าจนทำให้เกิดเนื้อเยื่ออักเสบบริเวณเล็บ ทั้งนี้คนไข้ที่สูญเสียประสาทสัมผัสบริเวณเส้นประสาทเท้าอาจไม่สามารถรับรู้ได้หากรองเท้าที่ใส่แน่นจนเกินไป
  • ใส่รองเท้าที่มีคุณสมบัติในการปกป้องเท้าหรือรองเท้านิรภัยเมื่อทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเท้าได้ เช่น การใช้รองเท้าหัวเหล็ก
  • หากคนไข้ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรหมั่นทำการตรวจหาอาการเล็บขบหรืออาการติดเชื้อที่เท้าอย่างสม่ำเสมอ

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยการเกิดเล็บขบได้ จากการตรวจดูอาการที่เกิดขึ้นและการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพบริเวณเล็บเท้า รวมถึงผิวหนังโดยรอบบริเวณที่มีอาการ

การรักษา

  • การตัดเล็บเท้าออกบางส่วน – สำหรับคนไข้ที่มีอาการรุนแรง เช่น เกิดการอักเสบ เป็นหนอง หรือมีความเจ็บปวดมาก แพทย์อาจทำการรักษาโดยการใช้ยาชาที่นิ้วเท้า และทำการตัดเล็บขบที่แทงผิวหนังออก โดยเล็บเท้าจะงอกใหม่ในระยะเวลา 2 ถึง 4 เดือน
  • การถอดเล็บ และตัดเนื้อเยื่อออก – แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาด้วยการถอดเล็บ รวมถึงฐานของเล็บออก หากคนไข้มีอาการเล็บขบเกิดขึ้นที่เดิมซ้ำกันหลายรอบ โดยแพทย์จะใช้ยาชาที่นิ้วเท้า และทำการถอดเล็บและเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก

การใช้ยาลดอาการปวดสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดหลังจากการถอดเล็บได้ หรือคนไข้อาจใช้วิธีการประคบเย็นบริเวณดังกล่าวทุกวันช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าอาการบวมจะลดลง นอกจากนี้ควรยกเท้าขึ้นให้สูงไว้เป็นระยะเวลา 12 ถึง 24 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้นิ้วเท้าบาดเจ็บ รวมถึงการว่ายน้ำ หรือการใช้อ่างแช่น้ำร้อน ควรปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น ในบางกรณีเล็บขบอาจสามารถเกิดซ้ำได้ ซึ่งการรักษาแบบผ่าตัดจะสามารถลดการเกิดซ้ำได้ดีกว่าการรักษาประเภทอื่น ๆ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และเคล็ดลับการดูแลรักษาด้วยตัวเอง

  • การแช่เท้าในน้ำอุ่นพร้อมสบู่ – ทำการแช่เท้า 3-4 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 10-20 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • การใช้เจลลี่ปิโตรเลียม (วาสลีน) ทาบริเวณผิวหนังที่บอบบางหรือเจ็บปวด และใช้ผ้าพันแผลพันรอบนิ้วเท้าที่มีอาการเล็บขบ
  • ใส่รองเท้าชนิดเปิดส่วนนิ้วเท้าจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • การใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ยาอะเซตามิโนเฟนหรือไอบูโพรเฟน สามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้

การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์

แพทย์ทั่วไปหรือแพทย์เฉพาะโรคเท้าสามารถวินิจฉัยอาการเล็บขบได้ คำถามที่คนไข้สามารถถามแพทย์ มีดังต่อไปนี้

  • อาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราวหรือเรื้อรัง
  • ฉันมีทางเลือกการรักษาอะไรบ้างและข้อดีและข้อเสียของการรักษาแต่ละแบบมีอะไรบ้าง
  • ฉันสามารถคาดหวังอะไรได้บ้างจากการรักษา
  • ควรรอให้หายเองหรือไม่
  • มีขั้นตอนดูแลเล็บอะไรบ้างที่ควรปฏิบัติตาม

บางคำถามที่แพทย์อาจถามมีดังนี้

  • คุณเริ่มมีอาการเหล่านี้เมื่อไหร่
  • คุณมีอาการตลอดเวลาหรือไม่
  • คุณได้มีการรักษาด้วยตัวเองแบบใดบ้าง
  • คนไข้มีโรคเบาหวานหรือภาวะสุขภาพที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าได้ไม่เพียงพอหรือไม่

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 มิ.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ต้น คงเป็นสุข

    นพ. ต้น คงเป็นสุข

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยกรรมมะเร็งลำไส้
    General Surgery, Colorectal Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ

    นพ. ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. นเรนทร์ สันติกุลานนท์

    นพ. นเรนทร์ สันติกุลานนท์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยกรรมมะเร็งลำไส้
    General Surgery, Colorectal Surgery
  • Link to doctor
    พญ. จียิน  วรวิทธิ์เวท

    พญ. จียิน วรวิทธิ์เวท

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ตกแต่งเพื่อความงาม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
    Reconstructive Microsurgery, Breast Cosmetic and Reconstruction, Lymphatic Surgery, Facial Paralysis Reconstruction, Facial Reanimation, Endoscopic Carpal Tunnel Release
  • Link to doctor
    นายแพทย์ เชาวนันท์   พรวรากรณ์

    นายแพทย์ เชาวนันท์ พรวรากรณ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    General Surgery, Vascular Surgery
  • Link to doctor
    นพ. วันปรีดี ตันเสนีย์

    นพ. วันปรีดี ตันเสนีย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Hyperbaric Oxygen Therapy, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Breast Surgery, Laparoscopic Abdominal Surgery, Endoscopic Thyroid Surgery, Surgical Treatment of Gastrointestinal Malignancies, Breast Cancer Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

    นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Head Neck Breast Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อภินันท์ อุทัยไพศาลวงศ์

    นพ. อภินันท์ อุทัยไพศาลวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ทรรศนะ อุทัยธรรมรัตน์

    นพ. ทรรศนะ อุทัยธรรมรัตน์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ดุษฎี  มีศิริ

    นพ. ดุษฎี มีศิริ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พงศ์รัตน์ ศิริจินดากุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ศุภอัฐ พึ่งพาพงศ์

    รศ.นพ. ศุภอัฐ พึ่งพาพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    General Surgery, Minimally Invasive Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. สุภาพร โอภาสานนท์

    ผศ.พญ. สุภาพร โอภาสานนท์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Wound Treatment and Surgery, Hyperbaric Oxygen Therapy, Burn Treatment and Surgery, Hemorrhoid, Chronic Wound, Diabetic Foot Ulcer
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, Abdominal Organ Transplant
  • Link to doctor
    พญ. หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย

    พญ. หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    นพ.   สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

    นพ. สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ปิติโชติ หิรัญเทพ

    นพ. ปิติโชติ หิรัญเทพ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ณฐวรรธ นฤพนธ์จิรกุล

    นพ. ณฐวรรธ นฤพนธ์จิรกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ

    นพ. ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Hepato-biliary and Pancreatic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. คามิน ชินศักดิ์ชัย

    รศ.นพ. คามิน ชินศักดิ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Vascular Surgery