Melatonin Banner 1.jpg

เมลาโทนิน (Melatonin)

ในเวลากลางคืนเมลาโทนินจะถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยเริ่มต้นการนอนหลับ และลดลงเมื่อนอนหลับ

แชร์

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการนอนหลับ โดยสมองจะผลิตและหลั่งเมลาโทนินออกมาเมื่อไม่มีแสงหรือมีแสงน้อย ดังนั้นในเวลากลางคืนเมลาโทนินจะถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยเริ่มต้นการนอนหลับ และลดลงเมื่อนอนหลับ หรือเมื่อมีแสงสว่าง นอกจากนี้ การผลิตเมลาโทนินจะลดน้อยลงเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุหลับยากกว่าวัยเด็ก หรือวัยผู้ใหญ่

ในปัจจุบันมีการผลิตเมลาโทนินเป็นเม็ดหรือแคปซูลเพื่อช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ หรือปัญหาวงจรการหลับตื่นที่ผิดปกติ ดังต่อไปนี้

  • ในผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับหรือใช้เวลานานกว่าจะผล็อยหลับ ทำให้ตื่นสาย รู้สึกไม่สดชื่น การรับประทานเมลาโทนินจะช่วยให้รู้สึกง่วงนอนเร็วขึ้น ยังไม่มีข้อบ่งชี้ชัดว่าการรับประทานเมลาโทนินจะช่วยในเรื่องคุณภาพและระยะเวลาของการนอน
  • ลดอาการตื่นตัวจากอาการเจ็ตแล็ก เพื่อทำให้เข้านอนได้ตามเวลาปกติ
  • ผู้พิการทางสายตาทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะนอนไม่เป็นเวลา สามารถรับประทานเมลาโทนินเพื่อช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เนื่องจากผู้พิการทางสายตาไม่สามารถรับแสงได้ จึงทำให้วงจรการหลั่งเมลาโทนินภายในร่างกายทำงานไม่ปกติ
  • ในเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการนอน การรับประทานเมลาโทนินจะช่วยให้รู้สึกง่วง ผล็อยหลับได้ง่ายขึ้น แต่การสร้างนิสัยการนอนที่ดีก็ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวพร้อมเข้านอนตามเวลา
  • ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ การรับประทานเมลาโทนินเพื่อช่วยให้สามารถหลับได้ อาจช่วยลดความสับสนเรื่องเวลา
  • ในผู้ที่ต้องทำงานกะกลางคืน ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการรับประทานเมลาโทนินจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนในช่วงกลางวันได้

ก่อนเริ่มรับประทานเมลาโทนิน ควรปรึกษาแพทย์หรือกุมารแพทย์ทุกครั้ง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 14 มิ.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ยุวดี ทองเชื่อม

    พญ. ยุวดี ทองเชื่อม

    • ประสาทวิทยา
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    โรคพาร์กินสัน, พาร์กินสัน, การรักษาผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการซับซ้อนด้วยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก และการใช้ยาฉีด, พาร์กินโซนิซึ่ม หรือกลุ่มโรคพาร์กินสันเทียม, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดโบทูลินัมท็อกซินรักษาโรคทางระบบประสาท
  • Link to doctor
    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    • ประสาทวิทยา
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ)ดร.พญ. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล

    ผศ.(พิเศษ)ดร.พญ. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล

    • ประสาทวิทยา
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    • พาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ, โรคพาร์กินสัน