โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย (Sexual Dysfunction in Men) สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย Common Male Sexual Problems

ความผิดปกติทางเพศสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ชายทุกวัย แต่พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีอายุ ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศ ได้แก่ ความผิดปกติของการหลั่ง การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ปัญหาที่พบบ่อยของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย

  1. อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  2. ความต้องการทางเพศลดลง
  3. การหลั่งผิดปกติ
    • การหลั่งเร็ว
    • การหลั่งช้า
  4. โรคเพย์โรนีหรืออวัยวะเพศชายโค้งงอ ผิดรูป (Peyronie’s disease)

     
    สาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย

    • การไหลเวียนของเลือดลดลง
      การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศชายที่ลดลงอาจเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ ยา และปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และโรคอ้วน นอกจากนี้การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศชายที่ลดลงยังเป็นสัญญาณเตือนของอาการหัวใจวายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เพราะการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงบริเวณอวัยวะเพศที่ลดน้อยลงนั้นมักเกิดขึ้นก่อนอวัยวะอื่น ๆ รวมถึงหัวใจ

    • ภาวะทางระบบประสาท
      ปัญหาสุขภาพ เช่น การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โรคหลอดเลือดสมอง การได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะเพศชาย โรคเบาหวาน หรือการผ่าตัดต่อมลูกหมากอาจทําให้เส้นประสาทอวัยวะเพศชายได้รับความเสียหาย

    • ยา
      ยา เช่น ยาระงับปวดกลุ่ม opioids ยาลดความดันโลหิต beta blockers หรือยาต้านเศร้าอาจไปรบกวนระบบประสาทหรือลดระดับฮอร์โมนเพศชาย

    • ความวิตกกังวลด้านความสามารถทางเพศและภาวะซึมเศร้า
      ผู้ชายอาจรู้สึกหดหู่จากความสามารถทางเพศลดลง เนื่องจากอายุที่มากขึ้น อาจรู้สึกอายจนไม่ยอมพูดคุยปรึกษาแพทย์และเลิกสนใจกิจกรรมทางเพศไป ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง

    • อวัยวะเพศได้รับความเสียหายระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์
      จนเกิดพังผืด ทำให้อวัยเพศโค้งงอหรือรู้สึกเจ็บเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว ผู้ชายราว 7% ประสบปัญหาอวัยวะเพศชายโค้งงอ ผิดรูป รู้สึกเจ็บและไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หากอวัยวะเพศนั้นโค้งงอมากกว่า 60 องศา

    โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย (Sexual Dysfunction in Men)


    การตรวจวินิจฉัย

    • การซักประวัติ
      แพทย์จะถามคําถามเรื่องส่วนตัว เช่น
      • ปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศค่อย ๆ เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
      • อวัยวะเพศแข็งตัวในตอนกลางคืนหรือหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือไม่
      • เวลาสําเร็จความใคร่ด้วยตนเอง มีปัญหาเรื่องอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือไม่
      • มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงหรือไม่
      • มีภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวลหรือไม่
      • สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่

    • การตรวจร่างกาย
      • ตรวจชีพจรบริเวณขาหนีบและเท้า
      • ตรวจภาวะเต้านมโตในเพศชาย
      • ตรวจอวัยวะเพศชาย ลูกอัณฑะ และต่อมลูกหมาก

    • การตรวจเลือด
      ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล ฮอร์โมนไทรอยด์ และระดับฮอร์โมนเพศชาย โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำหรือฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือสูงเกินไป การตรวจเลือดช่วยคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น ต่อมใต้สมองโตหรือความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์


      วิธีการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

      • การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต
        การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น ออกกําลังกายมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับสามารถช่วยลดความเครียดและคลายความวิตกกังวลได้

      • กระบอกสูญญากาศ
        กระบอกสูญญากาศ (Vacuum-assisted erection devices) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดภายในอวัยวะเพศชายและทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว

      • การฉีดคอลลาจีเนส
        การฉีดคอลลาจีเนส (Collagenase) เพื่อรักษาการโค้งผิดรูปของอวัยวะเพศชาย   คอลลาจีเนสเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถสลายคอลลาเจนและกําจัดเนื้อเยื่อพังผืดในอวัยวะเพศชาย

      • เลิกสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

      คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

      1. คำถาม: อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นอย่างไร?
        คำตอบ: ปัญหาที่พบบ่อยของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชาย คือ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว มีความต้องการทางเพศลดลง การหลั่งเร็วหรือหลั่งช้าผิดปกติ โรคเพย์โรนีหรืออวัยวะเพศชายโค้งงอผิดรูป

      2. คำถาม: หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากอะไร?
        คำตอบ: โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชายเกิดจาก การไหลเวียนของเลือดลดลง อาจเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้น สูบบุหรี่ หรือมีปัญหาสุขภาพ ภาวะทางระบบประสาท การใช้ยาบางชนิด ความวิตกกังวลด้านความสามารถทางเพศและภาวะซึมเศร้า หรืออาจเกิดจากที่อวัยวะเพศได้รับความเสียหายระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น โค้งงอ ผิดรูป รู้สึกเจ็บและไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เป็นต้น

      3. คำถาม: หย่อนสมรรถภาพทางเพศ รักษาอย่างไร?
        คำตอบ: ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น ออกกําลังกายมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับสามารถช่วยลดความเครียดและคลายความวิตกกังวลได้ การใช้กระบอกสูญญากาศ จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดภายในอวัยวะเพศชายและทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว การฉีดคอลลาจีเนสเพื่อรักษาการโค้งผิดรูปของอวัยวะเพศชาย การเลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

       

      บทความโดย

      เผยแพร่เมื่อ: 08 ก.พ. 2023

      แชร์

      แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

    • Link to doctor
      นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

      นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

      • ศัลยศาสตร์
      • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
    • Link to doctor
      นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

      นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

      นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

      • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

      นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
    • Link to doctor
      นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

      นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      MedPark Hospital Logo

      ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

      นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
    • Link to doctor
      นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

      นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
    • Link to doctor
      รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

      รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

      นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
    • Link to doctor
      นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

      นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

      ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    • Link to doctor
      นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

      นพ. วิชัย เจริญวงศ์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ