สาเหตุ อาการและวิธีรักษาโรคบาดทะยัก (Tetanus) สาเหตุ อาการและวิธีรักษา

บาดทะยัก รู้ทัน ป้องกันโรค

โรคบาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากสารพิษจากแบคทีเรีย บาดทะยักเป็นโรคที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดต่อผู้ป่วย เมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัวจากการติดเชื้อบาดทะยัก

แชร์

โรคบาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากสารพิษจากแบคทีเรีย บาดทะยักเป็นโรคที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดต่อผู้ป่วย บาดทะยักส่งผลต่อระบบประสาททำให้ให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามและคอมีอาการกระตุก เมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัวจากการติดเชื้อบาดทะยัก

ลักษณะอาการโรคบาดทะยัก

หลังจากที่แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล โรคบาดทะยักจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่สองสามวันแรกและอาจกินระยะเวลาหลายสัปดาห์  ระยะฟักตัวของบาดทะยักจะใช้เวลาประมาณ ถึง 10 วัน อาการทั่วไปของบาดทะยักมีดังนี้ 

  • ภาวะกรามติด
  • กล้ามเนื้อคอแข็ง
  • ปัญหาการกลืน
  • กล้ามเนื้อท้องแข็ง
  • การกระตุกของกล้ามเนื้อในร่างกายที่สร้างความเจ็บปวดและกินเวลาหลายนาที การกระตุกของกล้ามเนื้อจะถูกกระตุ้นด้วยการกระตุก เสียงดัง การสัมผัส หรือแสงจ้า
  • เหงื่อออก
  • ความดันโลหิตสูง
  • หัวใจเต้นเร็ว

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์  

ผู้ป่วยควรทำการนัดหมายกับแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดวัคซีนทุกๆ สิบปี ผู้ป่วยควรจะได้รับการฉีดวัคซีนหากเกิดบาดแผลลึก และไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงห้าปีที่ผ่านมาในกรณีที่ผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าได้รับวัคซีนบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อใด ควรทำการฉีดวัคซีนบาดทะยัก


สาเหตุโรคบาดทะยัก 

สาเหตุของบาดทะยักเกิดจากสารพิษที่พบในสปอร์ของแบคทีเรียที่เรียกว่า Clostridium tetani แบคทีเรียเหล่านี้สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลสัตว์ เมื่อสปอร์เหล่านี้เข้าไปในบาดแผลที่มีความลึก จะเติบโตกลายเป็นสารพิษที่ส่งผลทำให้เส้นประสาทเกิดการเสื่อม และยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดอาการตึงและการกระตุก 

บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ บาดทะยักมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันทุกๆ 10 ปี 


ปัจจัยเสี่ยง 

ปัจจัยที่ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคบาดทะยัก มีดังนี้ 

  • ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักหรือได้รับวัคซีนบาดทะยักในจำนวนที่ไม่ครบ  
  • มีบาดแผลทำให้สปอร์ของแบคทีเรียเข้าไปในแผล  
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในผิวหนังอย่างเช่น ตะปู หรือเสี้ยน 

สาเหตุที่ทำให้เกิดบาดทะยั มีดังนี้ 
สาเหตุการเกิดโรคบาดทะยัก-Tetanus

  • แผลจากของมีคม อย่างเช่น เสี้ยน การเจาะตามส่วนต่างๆของร่างกาย หรือการสัก 
  • แผลจากการโดนยิง 
  • กระดูกหักแผลปิด 
  • แผลไฟไม้
  • แผลจากการผ่าตัด
  • แผลจากการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
  • แมลงสัตว์กัดต่อย
  • แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อ
  • การติดเชื้อที่ฟัน
  • การติดเชื้อที่สายสะดือในทารกแรกเกิดที่มารดาไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในปริมาณที่จำเป็นต่อความต้องการ

 

3 ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อบาดทะยัก   

  1. กระดูกแตก 

    หากการกระตุกของกล้ามเนื้อมีความรุนแรงอาจส่งผลให้กระดูกสันหลังหรือกระดูกส่วนอื่นๆ เกิดการแตกได้  
  2. โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

     เลือดที่ไหลมาจากส่วนต่างๆของร่างกายอาจเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดการอุดตันกับหลอดเลือดในปอด 
  3. การเสียชีวิต

    การติดเชื้อขั้นรุนแรงจากอาการกล้ามเนื้อกระตุกทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลวซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคบาดทะยัก นอกจากนี้อาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจนซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด สาเหตุอีกประการของการเสียชีวิตจากบาดทะยักอีกประการคือโรคปอดอักเสบ

การป้องกันโรคบาดทะยัก

การฉีดวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการเกิดบาดทะยัก

แนวทางการให้วัคซีนบาดทะยักสำหรับเด็ก

วัคซีนป้องกันบาดทะยักมักจะถูกให้ร่วมกับวัคซีน DTaP สำหรับเด็ก วัคซีนนี้จะช่วยป้องกันการเกิดโรค 3 โรค ดังนี้ โรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก วัคซีนรวม DTap จำเป็นต้องฉีด 5 เข็มและจะถูกฉีดวัคซีนเด็กให้เด็กตามอายุต่างๆ ตามลำดับดังนี้  

  • เดือน
  • เดือน
  • เดือน
  • 15 ถึง 18 เดือน
  • ถึง 6 ปี 

วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่ 

วัคซีนป้องกันบาดทะยักสามารถให้ร่วมกับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Td) ในปี 2548 วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน (Tdap) ได้รับการรับรองให้สามารถใช้ได้ทั้งในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี เพื่อช่วยในการป้องกันโรคไอกรนอย่างต่อเนื่อง

เด็กวัยแรกรุ่นที่มีอายุระหว่าง 11 ถึง 12 ปีควรได้รับการฉีดวัคซีน Tdap และ วัคซีน Td ทุกๆ 10 ปี หากผู้ป่วยไม่เคยฉีดวัคซีน Tdap ผู้ป่วยสามารถรับวัคซีน  Td 1 เข็ม เพื่อทดแทน หลังจากนั้นในครั้งถัดไปผู้ป่วยสามารถทำการฉีด Td ต่อเนื่องได้

การติดตามการฉีดวัคซีนให้ครบอยู่เสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น ผู้ป่วยควรทำการปรึกษาแพทย์เรื่องการฉีดวัคซีนเป็นประจำ

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน Tdap หากคุณยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนในวัยเด็ก 

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคบาดทะยัก ด้วยการตรวจร่างกายและทำการซักประวัติเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการฉีดวัคซีนของผู้ป่วย แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้อกระตุกของผู้ป่วย

การดูแลรักษาแผล

การทำความสะอาดแผลเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยป้องกันไม่ให้สปอร์ของแบคทีเรียมีการเจริญเติบโต โดยขั้นตอนการดูแลรักษาแผลเริ่มต้นด้วยการที่ผู้ป่วยล้างแผลและขจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอมและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกจากบาดแผล  โรคบาดทะยักสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลแผล โดยแพทย์จะทำการสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการโรค

การใช้ยารักษาโรคบาดทะยัก

  • ยาต้านพิษ

    แพทย์อาจจะทำการสั่งยาต้านพิษ ยาต้านพิษจะช่วยปรับสารพิษที่ยังไม่รวมเข้ากับเส้นประสาท  
  • ยาปฏิชีวนะ

     แพทย์อาจจะทำการสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อใช้ในการรักษาแบคทีเรียบาดทะยัก 
  • วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก 

    ผู้ที่เป็นโรคบาดทะยักจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยโรค 
  • ยากล่อมประสาท

     แพทย์จะทำการสั่งยากล่อมประสาทเพื่อบริหารอาการกล้ามเนื้อกระตุก  
  • ตัวยาชนิดอื่น ๆ 

    ในบางครั้งแพทย์จะทำการสั่งยาชนิดต่างๆ อย่างเช่น แมกนีเซียมซัลเฟต และยาในกลุ่มเบต้า-บล็อกเกอร์บางชนิดเพื่อช่วยบริหารอาการเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจและการหายใจ ในบางทีแพทย์อาจจะใช้มอร์ฟีนและยากล่อมประสาทในการรักษาโรคบาดทะยักอีกด้วย

 

เผยแพร่เมื่อ: 08 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป