ทำไมแคลเซียมและวิตามินดีถึงจำเป็นต่อสุขภาพกระดูก?
แคลเซียมและวิตามินดี มีบทบาทสำคัญในการบำรุงสุขภาพกระดูกและฟัน สารอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้ช่วยให้ฟันและกระดูกแข็งแรงสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสันหลัง
จะเกิดอะไรขึ้นหากร่างกายขาดแคลเซียมและวิตามินดี?
ถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพออาจนำไปสู่ภาวะกระดูกบางและเปราะ เพิ่มความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือแตกหักได้ง่าย วิธีการรักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การรับประทานยาและการปรับเปลี่ยนอาหาร การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง หรือการรับประทานผลิตภัณฑ์แคลเซียมและวิตามินดีเสริมจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ ช่วงป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
อาหารและเครื่องดื่มอะไร ที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง?
อาหารและเครื่องดื่มแต่ละชนิดนั้นมีปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีแตกต่างกันไป
อาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นม ชีส โยเกิร์ต และไอศครีม
- ผักสีเขียว เช่น เคล คะน้า และบรอกโคลี
- ถั่วและขนมปังบางชนิด
- อาหารเสริมแคลเซียม เช่น น้ำผลไม้ ซีเรียล ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
อาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณวิตามินดีสูง ได้แก่
- น้ำส้ม นม ที่เสริมด้วยวิตามินดี
- ปลาทะเล เช่น แซลมอน ปลาทู
- ปลาทูน่ากระป๋อง
- ซีเรียลเสริมวิตามินดี
- น้ำมันตับปลาค็อด
โดยปกติแล้วผิวหนังของคนเรายังสามารถผลิตวิตามินดีได้เองเมื่อได้รับแสงแดด แต่ไม่ควรได้รับแสงแดดมากเกินไป เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งโรคผิวหนังได้
จำเป็นต้องรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมหรือวิตามินดีหรือไม่?
ภาวะขาดวิตามินดีพบได้แพร๋หลายกับคนจำนวนมาก ก่อนรับประทาน ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง การตรวจระดับวิตามินดีในเลือด ทำได้ง่ายแพทย์สามารถให้คำแนะนำเรื่องประเภท ขนาด และเวลาที่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์แคลเซียมหรือวิตามินเสริม ซึ่งมีทั้งแบบเป็นเม็ด แคปซูล และแบบน้ำ ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมบางชนิดควรรับประทานเวลาที่ท้องว่าง แต่บางชนิดควรรับประทานพร้อมอาหาร
ปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีที่ควรได้รับในแต่ละวันคือเท่าไร?
ปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีที่ควรได้รับในแต่ละวันแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ก่อนรับประทาน จึงควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อประเมินปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย โดยหญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจำเป็นต้องได้รับประมาณแคลเซียมสูงกว่าผู้ที่ยังมีประจำเดือน แต่ไม่ควรรับประทานแคลเซียมหรือวิตามินดีมากเกินไป เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ เช่น วิตามินดีเป็นพิษหรือภาวะแคลเซียมสูงในเลือด
ผลข้างเคียงของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอะไรบ้าง?
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยได้แก่ อาการท้องผูกและปวดท้อง โดยสามารถแบ่งรับประทานแคลเซียมทีละน้อยแทนการรับประทานครั้งเดียวเพื่อบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคนิ่วในไต