เทคนิคดูแลผิวหลังทำเลเซอร์ ฟื้นฟูไว ผิวไม่พัง - Take Care of Your Skin for Rapid Recovery After LASER Skin Resurfacing

เทคนิคดูแลผิวหลังทำเลเซอร์ ฟื้นฟูไว ผิวไม่พัง

การใช้เลเซอร์กับผิวหน้านั้น อาจส่งผลต่อผิว ความแข็งแรงของผิวหลังจากทำ ผู้ที่เพิ่งผ่านการทำเลเซอร์จึงต้องดูแลผิวหน้าเป็นพิเศษ เพื่อให้ผิวฟื้นฟูได้รวดเร็ว และไม่เกิดปัญหาหรือผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์

แชร์

เทคนิคดูแลผิวหลังทำเลเซอร์ ฟื้นฟูไว ผิวไม่พัง

ในปัจจุบัน การทำเลเซอร์ผิวกลายเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยเป็นปกติมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งในวิธีในการดูแลผิวพรรณให้สวยและอ่อนวัย ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ที่ก้าวหน้า ความสามารถของแพทย์เฉพาะทางที่ช่วยให้มั่นใจ ทำให้การทำหัตถการนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก แต่หลายคนคงทราบดี ว่าการใช้เลเซอร์กับผิวหน้านั้น อาจส่งผลต่อผิว ความแข็งแรงของผิวหลังจากทำ ผู้ที่เพิ่งผ่านการทำเลเซอร์จึงต้องดูแลผิวหน้าเป็นพิเศษ เพื่อให้ผิวฟื้นฟูได้รวดเร็ว และไม่เกิดปัญหาหรือผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ บทความนี้จึงจะมาแนะนำการดูแลผิวพรรณหลังจากการทำเลเซอร์ที่ควรรู้

เลเซอร์ มีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร?

การใช้เลเซอร์ในการแก้ปัญหาผิวนั้น ใช้หลักการของการกำหนดสิ่งที่เป็นตัวจับแสงเลเซอร์ที่เป็นเป้าหมาย (target chromophore) ของรอยโรคหรือปัญหาของผิวที่เราต้องการรักษาแตกต่างกันไป เช่น เม็ดสีแดงในรอยโรคของเส้นเลือด สิวอักเสบ หรือ เม็ดสีน้ำตาลดำในรอยโรคของกระฝ้า หรือหลักการการทำให้เกิดความร้อนในการกระตุ้นการสร้างเส้นใยคอลลาเจน อีลาสติน เป็นต้น โดยการกำหนดนั้นจะใช้ลักษณะคุณสมบัติของความยาวคลื่น และการตั้งค่าต่างๆ ของการใช้เลเซอร์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นการเลือกชนิดของเลเซอร์และการตั้งค่าของเลเซอร์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้เลเซอร์เพื่อปัญหาผิวต่างๆ

รูปแบบของเลเซอร์ในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่หลักๆ ได้ดังนี้

  1. เลเซอร์ที่ส่งผลต่อผิวหนังชั้นบนและเกิดการผลัดเซลล์ผิวของผิวหนังชั้นบน (Ablative Laser) เช่น
    • Carbondioxide (CO2 laser) สำหรับกำจัดกระเนื้อ ติ่งเนื้อ ขี้แมลงวัน ไฝ
    • Erbium:YAG laser สำหรับ รักษาริ้วรอยตื้นๆ รอยแผลเป็น รูขุมขนและยกกระชับผิว
    • Picosecond laser สำหรับรักษาจุดด่างดำ กระแดด กระลึก ฝ้า รอยดำ ปาน ลบรอยสัก อีกทั้งยังสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างผิวใหม่และคอลลาเจนใต้ผิว ช่วยลดริ้วรอย และรอยแผลเป็น
  2. เลเซอร์ที่ไม่ส่งผลต่อผิวหนังชั้นบนและเกิดการผลัดเซลล์ผิวของผิวหนังชั้นบน (Non-Ablative Laser) เช่น
    • Vbeam (Pulsed dye laser) สำหรับรักษารอยแดง ปานแดง เส้นเลือดฝอยขยาย สิวอักเสบ แผลเป็นนูน และผื่นอักเสบต่างๆ
  3. เลเซอร์ที่ส่งผลต่อผิวหนังชั้นบนและเกิดการผลัดเซลล์ผิวของผิวหนังชั้นบนบางเล็กน้อย (Semi-Ablative Laser)

สำหรับเลเซอร์ที่เป็นกลุ่มที่ส่งผลต่อผิวหนังชั้นบนและเกิดการผลัดเซลล์ผิวของผิวหนังชั้นบน (Ablative Laser)  จะพบว่า หลังจากทำการรักษาด้วยเลเซอร์ ซึ่งก่อให้เกิดความร้อน การผลัดลอกของผิว อาจจะทำให้ผิวแดง บอบบาง ระคาย หรืออาจบวม คัน แสบเล็กน้อย โดยอาการอาจคงอยู่ประมาณ 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดเลเซอร์และการตั้งค่า

ข้อควรปฏิบัติ หลังทำเลเซอร์

  1. ช่วง 2-3 วันแรก ที่ผิวบอบบาง และมีอาการบวม แสบ หากมีตุ่มขึ้น อย่าพยายามแกะหรือเกาผิวหนัง เพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นและติดเชื้อ
  2. ช่วง 5-7 วันหลังจากการทำเลเซอร์ ผิวอาจแห้ง หรือลอก มีการผลัดผิวใหม่ สามารถล้างหน้าทำความสะอาดได้ 2-5 ครั้งต่อวัน อาจใช้น้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชูเจือจางขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
  3. นอนหมอนสูงเพื่อช่วยลดอาการบวมช่วง 4 วันแรกหลังทำหัตถการ พยายามหลีกเลี่ยงการก้มศีรษะลงไปข้างหน้า หรือต่ำกว่าระดับหัวใจ
  4. สามารถประคบเย็น 15 นาที ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก หากมีอาการบวม แดง แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำแข็งสัมผัสผิวโดยตรง
  5. ทาปิโตรเลียมเจลลีบาง ๆ (หรือใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์) ที่ผิวจนกว่าผิวจะฟื้นฟู เนื่องจากปิโตรเลียมเจลลีช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และช่วยป้องกันผิวหนังที่กำลังฟื้นฟูไม่ให้ติดเชื้อ
  6. ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนผสมออกฤทธิ์รุนแรงต่อผิว เช่น เรตินอล (Retinol) กรดไกลโคลิค (Glycolic Acid) เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและผิวแย่ลงได้ แนะนำให้เว้นระยะประมาณ 1 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
  7. อย่าเพิ่งรีบแต่งหน้า เพราะเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอางก็อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองเช่นเดียวกัน ควรรอสัก 2-3 สัปดาห์ให้ผิวได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ก่อน หรือสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้เครื่องสำอางอย่างเหมาะสม
  8. หลบเลี่ยงแสงแดด นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดหลังการทำเลเซอร์ เพราะผิวหน้าจะบอบบางและได้รับอันตรายจากรังสียูวีได้ง่ายและมากกว่าปกติ เพื่อลดโอกาสที่ผิวจะแย่ลง หรือฟื้นฟูช้า ควรงดออกแดด หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรสวมหมวกหรือกางร่ม และไม่ลืมที่จะทาครีมกันแดดที่มี SPF ไม่ต่ำกว่า 30 หมั่นทาซ้ำบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน โดยสามารถให้แพทย์ผิวหนังช่วยแนะนำครีมกันแดดที่เหมาะสมได้

โดยส่วนใหญ่ แพทย์มักจะให้คำแนะนำในการดูแลผิวหลังทำเลเซอร์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี มีประสิทธิภาพที่สุด ควรปฏิบัติตามและคอยสังเกตผิว ว่ามีอาการที่ไม่พึงประสงค์อะไรหรือไม่ และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีหากพบอาการผิดปกติ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 05 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. กาญจนา บุญชู

    พญ. กาญจนา บุญชู

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจศัลยศาสตร์, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การรักษาเกี่ยวกับความงาม
  • Link to doctor
    พญ. นัทจิรา จียาศักดิ์

    พญ. นัทจิรา จียาศักดิ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การรักษาเกี่ยวกับความงาม
  • Link to doctor
    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
    การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, เลเซอร์รักษาหลุมสิว, โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การผ่าตัดปลูกผม
  • Link to doctor
    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, โรคเกี่ยวกับผมและเล็บ, ซีสต์ที่ผิวหนัง, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, รอยสิว, รักษาสิว, โรคสะเก็ดเงิน, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ฝ้าและโรคของเม็ดสี, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นแพ้สัมผัส, General Gyne Examination, โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดเอคซิม่า, โรคผมร่วงเฉียบพลัน, โรคผมร่วงเรื้อรัง, โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับผม, ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ, โรคผมร่วงชนิดทำให้เกิดแผลเป็น, โรคผมบางจากพันธุกรรม, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, เลเซอร์รักษาหลุมสิว, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, ผ่าตัดเล็กบริเวณผิวหนัง
  • Link to doctor
    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง, ภูมิคุ้มกันผิวหนัง, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคตุ่มน้ำพองใสจากภูมิคุ้มกัน, โรคสะเก็ดเงิน, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, รักษาสิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคด่างขาว
  • Link to doctor
    นพ. ปุณวิศ สุทธิกุลณเศรษฐ์

    นพ. ปุณวิศ สุทธิกุลณเศรษฐ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • ตจพยาธิวิทยา
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง