A Desperate Battle Against Covid 19 1

ป่วยโควิด-19 ในวัย 99 ปี โรงพยาบาลที่พร้อมคือแสงแห่งความหวัง

คุณ Manoj Parekh ชาวอินเดียที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ทั้งตัวเขาเองและคุณแม่ Kamlaben Shashikant Parekh วัย 99 ปี มีอาการอาเจียนระหว่างรับประทานอาหารเช้า

แชร์

ป่วยโควิด-19 ในวัย 99 ปี
โรงพยาบาลที่พร้อมคือแสงแห่งความหวัง

ตั้งแต่ช่วง พฤษภาคม ปี 2563 โควิด-19 แพร่ระบาดในประเทศไทย และทวีความรุนแรงขึ้น มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อวันสูง ครอบครัวคุณ Manoj Parekh ชาวอินเดียที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ทั้งตัวเขาเองและคุณแม่ Kamlaben Shashikant Parekh วัย 99 ปี (ณ ขณะนั้น)

A Desperate Battle Against Covid 19 3

เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อคุณแม่ Kamlaben มีอาการอาเจียนระหว่างรับประทานอาหารเช้า จึงได้พาไปโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกล

“ปกติแม่ของผมไม่ชอบไปโรงพยาบาลครับ ยอมกินยาแต่ไม่ยอมไปหาหมอ แต่รอบนี้คุณแม่ยอมไป แปลว่าแกอาจจะป่วยหรือรู้สึกไม่สบายจริง ๆ ผมจึงพาคุณแม่ไปโรงพยาบาล”

“วันนั้นคุณแม่เริ่มมีไข้ต่ำ ๆ หลังจากผลตรวจพบเชื้อโควิด-19 ก็พบว่าที่โรงพยาบาลขณะนั้นไม่มีเตียงว่างครับ” คุณ Manoj เล่า ด้วยความเป็นห่วงคุณแม่ จึงติดต่อขอความช่วยเหลือไปยัง สมาคม Thai Sindhi Association และได้รับคำแนะนำให้มาที่ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ซึ่งมาถึงในช่วงเวลากลางคืน

แพทย์หญิงมาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ ได้เข้ามาดูแลคุณ Kamlaben โดยสอบถามประวัติทางการแพทย์ กับคุณ Manoj อย่างละเอียด 

“วันแรกที่คนไข้มาถึงที่โรงพยาบาล admit ICU อาการค่อนข้างหนัก หอบเหนื่อยเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึมลง ตอนนั้นหมออยู่เวรพอดี จึงได้มาดูคนไข้ในทันที พบว่านอกจากติดเชื้อโควิด-19 คนไข้มีภาวะหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดอักเสบ และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนไข้อายุ 99 ปี จึงค่อนข้างเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก” แพทย์หญิงมาเรียเล่า

A Desperate Battle Against Covid 19

การรักษาคนไข้โควิด-19 ที่มีอายุเกือบร้อยปี ทั้งยังมีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง และอาการของคุณแม่ Kamlaben นั้นไม่ดีเท่าที่ควร เพราะมีภาวะปอดบวมจากเชื้อโควิด-19  คุณหมอจำเป็นต้องดูแลคนไข้ให้ผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้ จึงพิจารณาให้ใช้ยาสเตียรอยด์ เครื่องช่วยหายใจ Oxygen High Flow และยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ร่วมกับการปรึกษาและประสานงานทีมแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ ในการดูแลคนไข้ที่อยู่ในภาวะวิกฤตที่มีแนวโน้มการหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตสูง ซึ่งก็ได้แจ้งรายละเอียดกระบวนการรักษาและพยากรณ์โรคกับคุณ Manoj ให้รับทราบด้วย โดยแพทย์หญิงมาเรียแนะนำให้รักษาด้วยยาต้านไวรัสและสเตียรอยด์ ซึ่งการรักษาด้วยสเตียรอยด์เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะส่งผลข้างเคียง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

ในช่วงเวลาวิกฤตนั้น คุณ Manoj คิดเพียงว่าต้องฝากชีวิตของคุณแม่ไว้ในการดูแลของแพทย์ผู้มีความชำนาญการ เขาตัดสินใจยินยอมให้คุณแม่รับรักษา โดยทีมสหสาขาวิชาชีพดูแลผู้ป่วยวิกฤติ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์โรคหัวใจ แพทย์หญิงปิยนาฏ ปรียานนท์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจและโรคปอด นายแพทย์วรการ วิไลชนม์ และแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม แพทย์หญิงศศิภัสช์ ช้อนทอง ร่วมกับทีมพยาบาล ICU เข้ามาร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด-19 ในคนไข้ที่ขณะนั้นจัดว่าเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน

“คุณหมอมาเรียจะโทรแจ้งอาการคุณแม่กับผมทุกวัน วันละประมาณครึ่งชั่วโมงครับ ว่ากระบวนการรักษาคุณแม่ในขณะนั้นเป็นอย่างไร จะให้กินยาอะไร จะรักษาด้วยวิธีไหน ตอนนี้ผลตรวจสุขภาพโดยรวมคุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง มีความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อยนะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยนะ ผมจะได้รับข้อมูลอัปเดตอาการของคุณแม่อยู่ตลอด ช่วยให้เราได้สบายใจในแต่ละวัน และเชื่อมั่นในคุณหมอมากขึ้น” คุณ Manoj เล่า

A Desperate Battle Against Covid 19 2

“ระหว่างที่คนไข้นอนพักรักษาที่โรงพยาบาล หมอได้พูดคุยแจ้งอาการคนไข้กับคุณ Manoj ซึ่งเป็นลูกชายทุกวัน เนื่องจากคนไข้มีภาวะแทรกซ้อนเยอะ ต้องรักษาประคับประคองอาการอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นเวลานานกว่าคนไข้ที่อายุน้อยกว่า แต่ในท้ายที่สุด ผลลัพธ์ในการรักษาออกมาดีเกินคาด กลับบ้านไปคนไข้สามารถเดินและช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้ออกซิเจน เพราะมีทีมแพทย์และพยาบาล ที่ทำงานอย่างหนัก ร่วมกันดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คนไข้จึงสามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวได้ค่ะ” แพทย์หญิงมาเรียอธิบาย

เมื่อผลการรักษาของคุณแม่ Kamlaben ประสบความสำเร็จ คุณ Manoj พูดอย่างปีติว่า ประทับใจในการดูแลจากบุคลากรของเมดพาร์คทุกคน ทั้งความชำนาญของแพทย์ ทั้งอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก

“ผมและคุณแม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีมากครับ เจ้าหน้าที่ทุกคนดูแลคุณแม่เหมือนเป็นญาติผู้ใหญ่ของพวกเขา ตอนนั้นผมไม่คิดจริง ๆ ว่าคุณแม่จะรอดและได้กลับมาบ้าน แต่เป็นเพราะทีมแพทย์และบุคลากรที่เก่ง ในโรงพยาบาลที่พร้อม ทำให้คุณแม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปัจจุบันคุณแม่อายุ 103 ปีแล้ว และสุขภาพแข็งแรงดีครับ ผมมีความสุขมาก ๆ” คุณ Manoj เล่าอย่างยินดีด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม
แม้โรคที่เผชิญจะใหม่และยากซับซ้อน แต่หากผู้ป่วยได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและโรงพยาบาลที่เพียบพร้อม แสงแห่งความหวังก็จะยังมีอยู่

เผยแพร่เมื่อ: 14 มี.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่ถูกเอ่ยถึง

  • Link to doctor
    รศ.พญ. มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ

    รศ.พญ. มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, โรคติดเชื้อแทรกซ้อนหลังปลูกถ่ายอวัยวะ, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็ง/ มะเร็งโรคเลือด