MedPark สร้างมาตรฐานใหม่ในวงการแพทย์ไทย - MedPark set a new benchmark in healthcare industry

MedPark สร้างมาตรฐานใหม่ในวงการแพทย์ไทย

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของแพทย์ผุู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหลากหลายสาขาที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง ซึ่งไม่เพียงเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์เฉพาะทางระดับ Super Tertiary

แชร์

บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผนึกกำลังทีมแพทย์เฉพาะทางระดับแถวหน้าของประเทศร่วมพัฒนาโรงพยาบาลเมดพาร์ค ด้วยมูลค่าลงทุนระยะแรกกว่า 7,000 ล้านบาท เราสร้างนิยามใหม่ภายใต้แนวคิดที่เป็นมากกว่าโรงพยาบาล ก้าวสู่ศูนย์กลางการบริการทางแพทย์มาตรฐานสากลสำหรับโรคยากและซับซ้อนแห่งภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า โรงพยาบาลเมดพาร์ค เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของแพทย์ผุู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหลากหลายสาขาที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง ซึ่งไม่เพียงเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์เฉพาะทางระดับ Super Tertiary care แต่ยังได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันในทุกรายละเอียดโดยแพทย์ระดับแนวหน้าของประเทศ ด้วยคอนเซป Redefining Healthcare

โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจแห่งใหม่ บนถนนพระราม 4 ประกอบด้วยอาคาร 25 ชั้น พื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางเมตร สามารถให้บริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกถึง 300 ห้อง และรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้สูงสุด 550 เตียงเมื่อเปิดให้บริการเต็มโครงการ

ที่สำคัญ เมดพาร์ค มีแพทย์เฉพาะทางกว่า 30 สาขา ซึ่งทีมแพทย์หลักเกือบ 70% ผ่านการฝึกอบรมในต่างประเทศ ทั้งแพทย์ที่จบอเมริกันบอร์ด และผ่านหลักสูตรการอบรมในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งนี้ เมดพาร์ค ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้วสำหรับ 4 ศูนย์ ได้แก่ หัวใจ มะเร็ง ไต และ แล็บ

นอกจากนี้ เมดพาร์ค ยังมีจำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤตหรือไอซียูมากถึง 30% หรือ 130 เตียงเมื่อเปิดเต็มโครงการ ซึ่งเป็นสัดส่วนมากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งครบครันด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย สามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่โรงพยาบาลทั่วไปจะมีสัดส่วนของห้องไอซียูประมาณ 10% เท่านั้น สำหรับในเฟสแรก เมดพาร์ค เปิดให้บริการผู้ป่วยค้างคืนจำนวน 205 เตียง และรองรับผู้ป่วยวิกฤตจำนวน 65 เตียง

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ กล่าวว่า นอกจากการคัดสรรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เมดพาร์ค ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับมาตรฐานกระบวนการดูแลคนไข้ภายใต้หลักปฏิบัติ Integrated Care โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมมอบคุณค่าของการรักษา (Value-based Care) ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในสังคมปัจจุบัน

ในอนาคต เมดพาร์ค มีความมุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นมากกว่าโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายยกระดับให้เป็นสถาบันการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศทั้ง 3 ส่วนคือ การบริการทางการแพทย์ การเรียนสอน และการวิจัย เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ นำไปสู่แนวทางการดูแลรักษาคนไข้ โดยเฉพาะโรคยากและซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมดพาร์ค ถือเป็นโมเดลใหม่ที่เป็นแหล่งรวมศักยภาพของแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการดีไซน์ส่วนต่าง ๆ ให้ตอบสนองทุกความต้องการของคนไข้ได้อย่างแท้จริง และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) รวมถึงคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของคนไข้

ขณะเดียวกัน เมดพาร์ค เดินหน้าสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ในทุกด้าน ซึ่งจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

เผยแพร่เมื่อ: 23 ต.ค. 2020

แชร์

บทความสุขภาพ

How to Use Paracetamol Safely Banner 1

กินยาพาราเซตามอล อย่างไรให้ปลอดภัย

วิธีกินยาพาราเซตามอล ควรใช้ยาตามคำแนะนำบนกล่องหรือเอกสารกำกับยา ปริมาณยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุและน้ำหนักตัวของผู้ใช้ ชนิดของพาราเซตามอลที่ใช้และฤทธิ์ยา

Goto page arrow icon
Burnout Syndromes Banner 11.jpg

ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes)

ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes) หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะที่บุคคลเกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ที่สะสมต่อเนื่องกัน อันเป็นผลพวงมาจากความเครียดและความกดดันในที่ทำงาน

Goto page arrow icon
Menopause Banner 1

วัยหมดระดู วัยทอง (Menopause)

วัยหมดระดู หรือ วัยทอง เป็นภาวะธรรมชาติที่เกิดกับสตรีทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยส่วนใหญ่สตรีจะเข้าสู่วัยหมดระดูในช่วงอายุ 45-56 ปี (เฉลี่ย 50-51 ปี) เราเข้าสู่วัยหมดระดูเมื่อไม่มีระดูมาเป็นเวลา 1 ปี

Goto page arrow icon
medpark ดูทั้งหมด